Vous êtes sur la page 1sur 22

การสื่อและการสร้างความหมายในสถาปัตยกรรม:

จากโครงสร้างนิยมถึงหลังโครงสร้างนิยม
The Signification and Significance in Architecture:
From Structuralism to Poststructuralism

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สันติรักษ์ ประเสริฐสุข


Assistant Professor Santirak Prasertsuk

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University

บทคัดย่อ
สถาปัตยกรรมแสดงให้เห็นถึงการดำรงอยู่ร่วมกันระหว่างสัญลักษณ์กับวัตถุที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อสื่อถึงความหมาย
มโนคติ หรือศรัทธาในศาสนาต่อสังคม ประวัติศาสตร์ของสถาปัตยกรรมตลอดสองพันกว่าปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์นี้
อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ในตอนต้นคริสตศตวรรษที่ 20 ความหมายในสถาปัตยกรรมเริ่มสูญหายไป การเชิดชูสุนทรียภาพ
เชิงจักรกลตามแนวความคิดแบบโมเดิร์นที่มองเห็นการประดับประดาราวกับอาชญากรรมนั้น ได้นำสถาปัตยกรรมไปสู่รูปทรงบริสุทธิ์
แบบเพลโตนิค และไร้ซึ่งความหมายในที่สุด
การพัฒนาทฤษฎีทางด้านภาษาศาสตร์โดยเฉพาะทางด้านสัญศาสตร์หรือสัญวิทยา ได้ส่งผลให้เกิดสกุลทางความคิดใหม่
ในโลกตะวันตก ได้แก่ โครงสร้างนิยม และหลังโครงสร้างนิยม และยังส่งผลต่อศาสตร์แขนงอื่น ๆ อีกด้วย ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น
สถาปนิกตะวันตกได้เริ่มหันมาสนใจถึงกระบวนการในการสื่อและการสร้างความหมายว่า ความหมายนั้นถูกนำเสนอและถ่ายทอด
ในสถาปัตยกรรมอย่างไร ดังนั้น วาทกรรมทางสถาปัตยกรรมได้ถูกเคลื่อนย้ายไปสู่อีกสถานะหนึ่ง คือสถาปัตยกรรมในสถานะที่
เป็นภาษาที่สอง ตัวอย่างเช่น สถาปนิกกลุ่มโพสต์โมเดิร์นได้เริ่มทดลองสื่อสารหรือรหัสไปสู่สังคม โดยการนำเอาองค์ประกอบทาง
สถาปัตยกรรมจากอดีตมาใช้ประดับบนรูปทรงอาคาร ขณะที่สถาปนิกกลุ่มดีคอนสตรัคชันในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 ได้พยายาม
สร้างกลวิธีในการอ่านสถาปัตยกรรมราวกับตัวบททางวรรณกรรม

Abstract
Architecture manifests the mutual existence between symbol and object created by human to carry
meanings, ideas or religious beliefs to societies. The history of architecture over the past 2,000 years has
inevitably shown such relationship. However, in the early 20th century, the meaning in architecture began
to disappear. The Modernist glorification of the machine aesthetics, viewing ornaments as a crime,
eventually has led architecture to the pure and meaningless Platonic forms.
The development of linguistic theory, especially in Semiotics or Semiology, has reshaped ways of
thinking in the Western world, including Structuralism and Poststructuralism. It has also effected other
disciplines. Western architects concurrently have returned to investigate in the processes of signification
and significance – how the meaning is carried and applied to architecture. The architectural discourse,
as a result, has been displaced to another state: architecture as a second language. Employing decorative
classical elements on building forms, Postmodern architects, for example, began to experiment in signifying
messages or codes to society. In contrast, Deconstructivist architects in the late 1980s attempted to
create a critical method of reading architecture as a literary text.
The Signification and Significance in Architecture: From Structuralism to Poststructuralism
Assistant Professor Santirak Prasertsuk 129
คำสำคัญ (Keywords)
สัญวิทยา (Semiology)
สัญศาสตร์ (Semiotics)
สัญญะ (Sign)
รูปสัญญะ (Signifier)
ความหมายสัญญะ (Signified)
การสื่อความหมาย (Signification)
การสร้างความหมาย (Significance)
โครงสร้างนิยม (Structuralism)
หลังโครงสร้างนิยม (Poststructuralism)
มายาคติ (Mythology)
ตัวบท (Text)
สัมพันธบท (Intertextuality)

Journal of Architectural/Planning Research and Studies Volume 3. 2005


130 Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University
การสื่อสารความหมายภายใต้วัตถุประสงค์ดังกล่าว อีกทั้งยัง
เผยถึงการดำรงอยู่ร่วมกันระหว่าง ‘สัญลักษณ์ (symbol)’ กับ
‘วัตถุ (object)’ ที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างเด่นชัด
สถาปัตยกรรมนั้นมีความเกี่ยวโยงกับสัญลักษณ์และ
บทนำ: สถาปัตยกรรมกับความหมาย ความหมายอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ สถาปัตยกรรมตั้งแต่ยุค
Introduction: Architecture and Meaning คลาสสิ ค เรื ่ อ ยมาต่ า งก็ ส ื ่ อ สารถึ ง สั ญ ลั ก ษณ์ ท ี ่ ซ ั บ ซ้ อ นขึ ้ น
เรื่อย ๆ มากกว่าสิ่งก่อสร้างในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เนื่องจาก
มนุษย์มีความสัมพันธ์กับ ‘ความหมาย (meaning)’ สภาพสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น การ
มาตั ้ ง แต่ เ มื ่ อ ครั ้ ง อดี ต กาลผ่ า นทางการคิ ด สร้ า งสรรค์ ร ะบบ แสดงความศรัทธาต่อพระเจ้า (รูปที่ 1) การสะท้อนถึงสภาพ
หรือเครื่องมือบางอย่างขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดสิ่งแรก ได้แก่ สังคมและการปกครอง รวมไปถึงการสื่อสารถึงแบบแผนทาง
การประดิษฐ์ภาษาขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารถึง ความคิ ด ของสั ง คมในการยึ ด ถื อ มนุ ษ ย์ เ ป็ น ศู น ย์ ก ลางของ
ความหมายบางอย่างระหว่างมนุษย์ในสังคมเดียวกันหรือต่าง ทุก ๆ สิ่ง ซึ่งปรากฏอย่างชัดเจนในรูปของการอุปมาอุปมัย
สังคมก็ตาม สิ่งที่สอง ได้แก่ การประดิษฐ์วัตถุหรือการก่อ- (metaphor) กับร่างกายมนุษย์ที่เป็นเพศชายกับสถาปัตยกรรม
สร้ า งอาคารขนาดใหญ่ ป ระเภทต่ า ง ๆ ซึ ่ ง รวมถึ ง ภาพวาด ตัวอย่างเช่น การเปรียบเปรยรูปผังอาคารทางศาสนาราวกับ
จากฝี ม ื อ มนุ ษ ย์ อ ี ก ด้ ว ย ความหมายที ่ แ สดงออกผ่ า นสิ ่ ง - ร่างกายของมนุษย์ หรือการเปรียบเทียบปล่องไฟของบ้านกับ
ประดิษฐ์เหล่านี้มักจะมีวัตถุประสงค์หลักหรือรองก็เพื่อแสดง กระดูกสันหลังของมนุษย์ เป็นต้น
ความศรัทธา หรือความเคารพต่อผู้นำในสังคมนั้น ๆ หรือ การสื ่ อ ความหมายในสถาปั ต ยกรรมหลั ง จากสมั ย
ในทางกลั บ กั น คื อ ตั ว ผู ้ น ำเองต้ อ งการแสดงถึ ง อำนาจ คลาสสิคเรื่อยมายังคงเกี่ยวพันกับการสื่อความหมายในเชิง
อั น ยิ ่ ง ใหญ่ ข องตนสู ่ ผ ู ้ ถ ู ก ปกครอง อี ก เหตุ ผ ลหนึ ่ ง ได้ แ ก่ สั ม พั น ธ์ ก ั บ ศรั ท ธาต่ อ ศาสนาเป็ น สำคั ญ จนในช่ ว งคริ ส ต-
เพื ่ อ แสดงถึ ง ความหวาดกลั ว หรื อ สื ่ อ สารต่ อ สิ ่ ง ลี ้ ล ั บ ใน ศตวรรษที่ 20 สกุลความคิดแบบโมเดิร์น (Modernism) ได้
ธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนให้กับตนเองต่อ ทำให้การดำรงอยู่ของความหมายกับสถาปัตยกรรมเปลี่ยนแปลง
ปรากฏการณ์ เ หล่ า นั ้ น อย่ า งเพี ย งพอ ปิ ร ะมิ ด แห่ ง ประเทศ ไปจากเดิม การปฏิวัติอุตสาหกรรมและระบบทุนนิยมที่เบ่งบาน
อียิปต์ สโตนเฮนจ์ในประเทศอังกฤษ ภาพวาดบนที่ราบนาซคา ในสังคมตะวันตกส่งผลให้สถาปนิกในกลุ่มโมเดิร์นจำนวนมาก
ในประเทศเปรู สิ่งก่อสร้างเหล่านี้ เป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงถึง ได้ผลักดันสถาปัตยกรรมเข้าไปสูก่ รอบของนามธรรม (abstract)

รูปที่ 1 วิหารเฮร่าที่ 2 (Temple of Hera II) ประเทศอิตาลี สร้างขึ้นเมื่อ 460 ปีก่อน


คริสตศักราช สถาปัตยกรรมสมัยกรีก ซึ่งแสดงถึงความศรัทธาต่อเทพผ่าน
ทางสัดส่วนของรูปทรง

The Signification and Significance in Architecture: From Structuralism to Poststructuralism


Assistant Professor Santirak Prasertsuk 131
หันมาเชิดชูคุณค่าของเครื่องจักรกลแทนการให้ความสำคัญ
กับมนุษย์ด้วยกันเอง และยึดถือสกุลความคิดแบบ ‘ประโยชน์
นิ ย ม (Functionalism)’ เป็ น รากฐานอั น สำคั ญ ในการ
สร้างสรรค์สถาปัตยกรรม ซึ่งพื้นฐานของสกุลความคิดแบบ
ประโยชน์นิยมนั้นเชื่อว่า รูปทรงของอาคารเป็นผลมาจาก
ข้ อ กำหนดทางกายภาพภายนอกที ่ ช ั ด เจน เช่ น โครงสร้ า ง
ภูมิอากาศ และจุดมุ่งหมาย สิ่งอื่น ๆ เช่น ลวดลายหรือ
การประดับประดากลายเป็นสิ่งไม่จำเป็น แนวความคิดนี้ได้นำ
สถาปั ต ยกรรมไปสู ่ ก ารสู ญ หายของความหมายที ่ ช ั ด เจน
สารัตถะของสถาปัตยกรรมเหลือเพียงแค่รูปทรงอันบริสุทธิ์
ในมุมมองแบบจักรกลเท่านั้น (รูปที่ 2)
ถึงแม้ว่าสถาปัตยกรรมในช่วงโมเดิร์นตอนปลายใน
ช่วงทศวรรษที่ 1970 จะเริ่มหันมาพิจารณาถึงการสื่อสารของ
รูปทรงสถาปัตยกรรมอีกครั้ง แต่ผลงานหลายชิ้นกลับสร้าง
ความคลุมเครือให้แก่ผู้พบเห็น เนื่องจากการอ่านความหมาย
ของสถาปั ต ยกรรมแตกต่ า งกั น ไปตามข้ อ มู ล และการแปล
ความหมายของผู ้ พ บเห็ น อาคารหลั ง เดี ย วกั น จึ ง สามารถ
อ่ า นความหมายได้ ไ ม่ เ หมื อ นกั น เลย (รู ป ที ่ 3) ดั ง นั ้ น รูปที่ 2 อาคารซีแกรม (Seagram building) เมืองนิวยอร์ค
สถาปัตยกรรมภายหลังการสิ้นสุดของโมเดิร์น จึงหันมาให้ ประเทศสหรัฐอเมริกา ออกแบบโดย มีส ฟาน เดอโรห์
สถาปัตยกรรมโมเดิร์นซึ่งลดทอนรูปทรงจนการสื่อสาร
ความสำคัญกับการสื่อสารของสถาปัตยกรรมอีกครั้ง โดยเชื่อว่า
ความหมายของสถาปัตยกรรมสูญหายไป
แทนที่จะปล่อยให้ความหมายของสถาปัตยกรรมดูคลุมเครือ
อีกต่อไป สถาปนิกผู้ออกแบบก็น่าจะสร้าง ‘สาร (message)’
ที่ต้องการสื่อให้ชัดเจนเสียเลย ปัญหาเช่นนั้นจะได้หมดสิ้น
ไปความเคลื่อนไหวในวงการสถาปัตยกรรมที่หันมาสนใจถึง
การสื ่ อ ความหมาย (signification) ที ่ ช ั ด เจนดั ง กล่ า วจึ ง
สอดคล้องเป็นอย่างดีกับพัฒนาการของภาษาศาสตร์ที่รุดหน้า
เป็นอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 1960
บทความชิ ้ น นี ้ จ ะอธิ บ ายถึ ง ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง
ภาษาศาสตร์ที่มีต่อรูปแบบของสถาปัตยกรรมในช่วงหลังของ
คริสตศตวรรษที่ 20 โดยอธิบายถึงเนื้อหาของสกุลความคิดที่
เกี่ยวพันกับภาษาศาสตร์ ซึ่งกำเนิดขึ้นในสังคมตะวันตกใน
กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ ‘การสื่อความหมาย (signification)’
และ ‘การสร้ า งความหมาย (significance)’ เป็ น สำคั ญ
และส่วนท้ายสุดของบทความจะนำเอาผลงานออกแบบอาคาร
พักอาศัยจำนวน 2 โครงการ ได้แก่ อาคารกิลด์ เฮาส์ (Guild
House) และอาคารพักอาศัยไอบีเอ (IBA Housing) เป็นกรณี
ศึกษาเชิงวิเคราะห์ถึงการสื่อความหมายของสถาปัตยกรรม
ผ่านทางองค์ประกอบต่าง ๆ ในวิธ ีการที่แตกต่างกัน เพื่อ
เสริมความเข้าใจในเรื่องนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น รูปที่ 3 วิหารนอเทรอ - ดาม (Notre-dam Chapel) เมืองรอมชอมพ์
ประเทศฝรั่งเศส ออกแบบโดย เลอ คอร์บูซิเอร์
รูปทรงของอาคารสามารถตีความได้หลายแบบ เช่น
มือที่กำลังพนมไหว้ เรือโนอาร์ หรือหมวกสวมศีรษะ

Journal of Architectural/Planning Research and Studies Volume 3. 2005


132 Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University
กาลเวลา สั ญ ญะซึ ่ ง ถื อ เป็ น หน่ ว ยพื ้ น ฐานของภาษานี ้ ย ั ง
ประกอบไปด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง 2 สิ่งด้วยกัน คือ
1. ‘รูปสัญญะ (signifier)’ คือ รูปเสียง พยัญชนะ
เสียงที่เปล่งออกมา เครื่องหมาย วัตถุ หรือภาพ
ระบบสัญญะกับการสื่อความหมาย 2. ‘ความหมายสัญญะ (signified)’ คือ มโนทัศน์
Sign Systems and Signification (concept) หรือความหมาย (meaning) ที่โยงถึง
รูปสัญญะนั้น ๆ
ก่อนหน้าที่จะมีการศึกษาทางภาษาศาสตร์อย่างเป็น ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งรู ป สั ญ ญะและความหมาย
ระบบนั้น นักภาษาศาสตร์เชื่อกันว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กัน สัญญะนี้ก่อให้เกิดความหมายในการรับรู้ภาพหรือเสียงนั้น ๆ
อย่างใกล้ชิดระหว่างวัตถุในโลกและภาษาที่เราใช้กันในการกล่าว ในสมองของมนุษย์ในสังคม ตัวอย่างเช่น คำ ๆ หนึ่งในภาษา
ถึงวัตถุหนึ่ง ๆ ซึ่งสามารถอธิบายคำถามหลายประการ อาทิเช่น อังกฤษประกอบด้วยตัวอักษร d-o-g ตัวอักษรทั้งสามตัวจะ
ทำไมคำ ๆ หนึ่งจึงหมายถึงวัตถุนั้น ๆ และทุกคนในสังคมนั้น ทำหน้าที่เป็นรูปสัญญะ และรูปสัญญะนี้จะสร้างมโนทัศน์ หรือ
เข้าใจได้ตรงกัน และเหตุใดคำ ๆ นั้นจึงมีความหมายแตกต่าง ความหมายสัญญะในสมองของผู้รับรู้ ซึ่งเข้าใจภาษาอังกฤษว่า
ไปจากคำอื่น ๆ ในระบบภาษาเดียวกันอีกด้วย หมายถึง สัตว์สี่ขาชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “dog”
การศึกษาทางด้านภาษาศาสตร์อย่างจริงจังนั้น เริ่มต้น คำถามที่เกิดขึ้นต่อตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างรูป
ขึ้นในโลกตะวันตกนับแต่ปลายคริสตศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา สัญญะและความหมายสัญญะดังกล่าวก็คือ ทำไมถึงต้องเป็น
โดยนักภาษาศาสตร์ชาวสวิสชื่อว่า เฟอร์ดินองด์ เดอ โซซูร์ คำว่า “dog” ถึงจะหมายความถึงสัตว์ชนิดนั้นโดยเฉพาะ
(Ferdinand de Saussure) เป็นบุคคลแรกที่ได้ศึกษาถึง ทำไมไม่เป็นคำที่สะกดด้วยพยัญชนะอื่น ๆ เช่น “nim” และ
โครงสร้างของภาษาจากมุมมองทางทฤษฎี ภายใต้ความคิด ใครเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ดังกล่าวไว้ โซซูร์
ที่ว่า ความหมายของสิ่งใด ๆ ก็ตามมิใช่อยู่ที่ความหมายของ ได้กล่าวถึงเหตุผลเพื่อตอบคำถามเหล่านี้ไว้ว่า ความสัมพันธ์
สิ่งนั้นแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะขึ้นอยู่กับ ‘โครงสร้างความ ระหว่ า งรู ป สั ญ ญะและความหมายสั ญ ญะนั ้ น เป็ น ไปตาม
สัมพันธ์’ ของสิ่งนั้นกับสิ่งอื่น ๆ ในสังคมเดียวกันอีกด้วย ‘ที่กำหนดไว้ (arbitrariness)’ ไม่มีเหตุผลที่แน่ชัดว่า ทำไม
ศาสตร์ที่ศึกษาทางด้านนี้ได้ถูกขนานนามเฉพาะว่า ‘สัญวิทยา ถึงเป็นคำเฉพาะนั้น ๆ ที่จะหมายถึงสิ่ง ๆ นั้น หรือกล่าวอีก
(Semiology) หรือสัญศาสตร์ (Semiotics)’ [1] อันหมายถึง นั ย หนึ ่ ง ก็ ค ื อ ไม่ ม ี เ หตุ ผ ลตายตั ว ระหว่ า งรู ป สั ญ ญะและ
ศาสตร์ของเรื่องสัญญะ (The Science of Signs) หรือ ความหมายสั ญ ญะแต่ อ ย่ า งใด แต่ เ นื ่ อ งจากความสั ม พั น ธ์
การศึกษาเรื่องสัญญะ (The Study of Signs) หรือระบบสัญญะ ดังกล่าวได้ถูกกำหนดขึ้น และผ่านกระบวนการของเวลา จน
(Sign Systems) กลายเป็นที่ยอมรับของสังคมนั้น ๆ ไปแล้ว จึงไม่อาจเปลี่ยน
โซซูร์ได้สร้างงานประพันธ์ที่มีชื่อเสียงขึ้นในปี ค.ศ. คำอื่นมาทดแทนคำนั้น ๆ ได้ เช่น ไม่อาจเอาคำว่า “nim”
1951 คื อ Course in General Linguistics ซึ ่ ง สาระ มาแทนคำว่า “dog” แล้วสามารถสื่อความหมายให้เข้าใจได้
สำคัญในงานชิ้นนี้ ได้แก่ การที่โซซูร์ได้แยก ‘ภาษา (langue)’ เหมือนเดิมต่อบุคคลอื่นได้
ออกจาก ‘การพูด หรือการใช้ภาษา (parole)’ และนำเสนอว่า สำหรั บ กระบวนการที ่ เ กิ ด ขึ ้ น ในการสื ่ อ สารนั ้ น
สิ่งที่สำคัญในการศึกษาคือ ภาษามากกว่าการพูดหรือการใช้ สามารถอธิบายได้ดังนี้ เมื่อเรารับรู้ถึงคำว่า “dog” ไม่ว่าจาก
ภาษา เหตุผลเนื่องมาจากภาษาถือเป็นความสามารถของมนุษย์ การมองเห็นหรือจากการฟังเสียงก็ตาม สมองจะทำหน้าที่
ในการคิดค้นระบบเพื่อใช้ในการสื่อสารในสังคม ส่วนการพูด แปลคำ ๆ นั ้ น ให้ ต รงกั บ มโนทั ศ น์ ท ี ่ ม ี อ ยู ่ ซึ ่ ง เป็ น ข้ อ มู ล
หรือการใช้ภาษาถือเป็นสิ่งที่มีได้หลายรูปแบบในการสื่อสาร อันได้มาจากประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้วว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร
และเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับบุคคลในการเลือกรูปแบบหรือวิธีการ เช่น รูปร่าง หน้าตา การเดิน หรือการส่งเสียง เป็นต้น โดยที่
ที่จะสื่อสาร [2] อีกสิ่งหนึ่งที่ได้กลายเป็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่ มนุษย์ทุกคนจะรับรู้ความหมายเหมือนกัน เนื่องจากมโนทัศน์
ต่อการศึกษาภาษาศาสตร์ในภายหลังจากงานเขียนชิ้นนี้ก็คือ ในสมองนั้นเป็นสากล เช่น เมื่อเห็นคำว่า “dog” ผู้ที่เข้าใจ
การศึ ก ษาภาษาในระบบที ่ เ ป็ น หน่ ว ยย่ อ ย ซึ ่ ง โซซู ร ์ ส รุ ป ว่ า ภาษาอังกฤษจะรับรู้ว่าหมายถึง สัตว์สี่ขาชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า
ภาษาเป็ น ระบบที ่ ป ระกอบด้ ว ยหน่ ว ยที ่ เ ล็ ก ที ่ ส ุ ด ที ่ เ รี ย กว่ า
‘สั ญ ญะ (sign)’ สั ญ ญะเป็ น ระบบที ่ ส ื ่ อ ความหมายหรื อ
ความคิดต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการสื่อสารระหว่างมนุษย์ขึ้นใน
สังคม และเป็นระบบที่เป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลงไปตาม

The Signification and Significance in Architecture: From Structuralism to Poststructuralism


Assistant Professor Santirak Prasertsuk 133
“dog” เหมือนกันทุกคน ขณะเดียวกันมโนทัศน์หรือความ
หมายของคำ ๆ หนึ่งก็แตกต่างไปจากคำ ๆ อื่นด้วย เช่น “dog”
ก็จะมีความหมายแตกต่างไปจาก “cat” ดังนั้น สามารถสรุป
ความสัมพันธ์ระหว่างรูปสัญญะและความหมายสัญญะได้ดังนี้
ของช่วงเวลาที่เขียนงานชิ้นนั้น เป็นต้น ซึ่งจะช่วยประกอบให้
รูปสัญญะ (signifier) ความหมายสัญญะ (signified) ผู้อ่านเข้าใจสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้อย่างชัดเจนและครบถ้วน
d-o-g → สัตว์สข่ี าชนิดหนึง่ อาจกล่าวได้ว่าศาสตร์แห่งการตีความได้สร้างความสัมพันธ์
(word) (concept) ระหว่างงานเขียนกับโลกภายนอกในการเข้าถึงความจริงของงาน
เขียนชิ้นนั้น ๆ [4]
ความสัมพันธ์ของระบบสัญญะดังกล่าวนั้น กลายเป็น ‘โครงสร้ า งนิ ย ม (Structuralism)’ เป็ น สกุ ล ทาง
สิ ่ ง ที ่ ค ุ ้ น เคยในชี ว ิ ต ประจำวั น ของมนุ ษ ย์ ซึ ่ ง ไม่ เ ป็ น เพี ย ง ความคิดที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยนักมานุษยวิทยาชาวฝรั่งเศส ชื่อ
แค่ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารเท่านั้น แต่ยังปรากฏใน คล้อด เลวี - สโตรส (Claude Levi-Strauss) เลวี - สโตรส
รูปแบบอื่นอีกมากมาย เช่น สัญญาณไฟจราจร เครื่องหมาย ได้ขยายขอบเขตของสัญวิทยาของโซซูร์ออกไป โดยการเชื่อม
จราจร สัญลักษณ์ หรือป้ายประกาศต่าง ๆ ตลอดจนกิริยา มานุษยวิทยาเข้าไปรวมในกรอบเดียวกัน ทำให้เกิดการศึกษา
การแสดงออก เช่ น การจั บ มื อ หรื อ การไหว้ เป็ น ต้ น ซึ ่ ง วิ เ คราะห์ ร ะบบสั ญ ลั ก ษณ์ แ ละขนบธรรมเนี ย มประเพณี ท ั ้ ง
ทั้งหมดล้วนมีรูปสัญญะและความหมายสัญญะที่เป็นที่เข้าใจ ของมนุษย์และสัตว์ในแง่มุมต่าง ๆ เช่น การศึกษาถึงโครงสร้าง
สากลในสังคมหรือวัฒนธรรมนั้น ๆ หรือรูปสัญญะบางแบบก็ ของกฎเกณฑ์หรือระเบียบของชนพื้นเมืองเผ่าต่าง ๆ ผ่านทาง
กลายเป็นสิ่งสากลที่มนุษย์ทุกคนเข้าใจตรงกันทั่วทุกมุมโลก การศึกษานิทานปรัมปรา (myth) [5] อันเป็นผลงานที่โดดเด่น
แนวความคิดของเฟอร์ดินองด์ เดอ โซซูร์ ในการศึกษา และได้รับการยอมรับอย่างสูงในแวดวงวิชาการของเลวี -สโตรส
เรื่องสัญญะดังกล่าว ได้ถูกนำไปใช้ในการวิเคราะห์และศึกษา โครงสร้างนิยมได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบของการศึกษา
ในแวดวงวรรณกรรมตะวันตกเป็นอย่างสูง [3] และได้พัฒนา วรรณกรรมตะวั น ตกอย่ า งถึ ง รากถึ ง โคนในการศึ ก ษา
อย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นรากฐานที่สำคัญของสกุลทางความคิด วรรณกรรมใด ๆ โดยทั่วไปแล้ว นักวิจารณ์หรือผู้อ่านจะมุ่ง
ทางวรรณกรรมศึ ก ษาที ่ เ รี ย กว่ า ‘โครงสร้ า งนิ ย ม (Struc- สนใจที่เนื้อหาซึ่งงานเขียนชิ้นนั้นบอกเล่าหรือสื่อความหมาย
turalism)’ และ ‘หลังโครงสร้างนิยม (Poststructuralism)’ ออกมา โดยมองที ่ เ นื ้ อ หา (substance) และรู ป แบบของ
ในเวลาต่อมา งานเขียน (form) เป็นหลัก หรือไม่ก็ให้ความสนใจต่อเหตุการณ์
ในสมัยเดียวกับงานเขียนหรือชีวประวัติของผู้ประพันธ์ ซึ่ง
วิธีการเหล่านี้ทำให้เข้าถึงความจริงหรือความหมายของงานเขียน
โครงสร้างนิยมและหลังโครงสร้างนิยม ชิ้นนั้นได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น สกุลความคิดแบบโครงสร้างนิยม
Structuralism and Poststructuralism ได้เสนอแนวทางใหม่ในการศึกษาวรรณกรรมด้วยวิธีการมุ่ง
แสวงหาระบบสากลของการสื่อสาร และศึกษาถึงโครงสร้าง
การศึกษาวรรณกรรมตะวันตกในช่วงต้นคริสตศตวรรษ (structure) ของระบบหรือกฎเกณฑ์ที่ซ่อนเร้นภายใต้ภาษา
ที่ 20 ก่อนที่จะมีการนำเอาสัญวิทยามาใช้นั้นจะอยู่ภายใต้ ซึ่งทำให้เกิดความหมายขึ้น แทนที่จะมุ่งหาความหมายโดยตรง
‘ศาสตร์แห่งการตีความ (Hermeneutics)’ เป็นสำคัญ โดยที่ จากวัตถุหรือการกระทำนั้น ๆ และเชื่อว่าโครงสร้างดังกล่าว
ศาสตร์ แ ห่ ง การตี ค วามนี ้ จ ะมองงานเขี ย นในลั ก ษณะวั ต ถุ จะทำให้เข้าถึงความจริงหรือความหมายของงานเขียนชิ้นนั้น ๆ
ชิ ้ น หนึ ่ ง ที ่ ร อคอยให้ ผ ู ้ อ ่ า นเข้ า มาหาความหมายที ่ ซ ่ อ นเร้ น ได้ม ากที่ ส ุด โดยที่โครงสร้ า งนั ้น จะอยู่ ภ ายในงานเขีย นชิ ้น
โดยยึดถือเอา ‘บริบท (context)’ เป็นสำคัญในการเข้าถึง นั ้ น ๆ มิ ไ ด้ อ ้ า งอิ ง ไปยั ง โลกภายนอกหรื อ ชี ว ประวั ต ิ ข องผู ้
ความหมายที ่ ผ ู ้ เ ขี ย นต้ อ งการสื ่ อ ออกมา ไม่ ไ ด้ ม ุ ่ ง สนใจแต่ ประพันธ์แต่อย่างใด โครงสร้างนิยมจึงปฏิเสธศาสตร์แห่งการ
การตีความจากงานเขียนแต่เพียงอย่างเดียว บริบทที่ว่านี้ ได้แก่ ตีความอย่างสิ้นเชิง
ชีวประวัติส่วนตัวของผู้เขียน เหตุการณ์หรือประวัติศาสตร์ โครงสร้างนิยมอาศัยระบบสัญญะเป็นพื้นฐานในการ
วิเคราะห์ เพื่อค้นหาโครงสร้างที่ซ่อนอยู่ระหว่างรูปสัญญะและ
ความหมายสัญญะในระดับที่แตกต่างกันได้ในหลายมิติ และ
ล้ำลึกกว่าความสัมพันธ์ในเชิงความหมายทั่วไป เช่น โครงสร้าง
ของตัวละคร โครงสร้างของสถานที่- เวลา เป็นต้น นอกจากนี้

Journal of Architectural/Planning Research and Studies Volume 3. 2005


134 Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University
โหดร้าย แต่เป็นแบบจำลองของชีวิตหรือการแสดงที่มีสัญญะ
มาเกี่ยวข้อง รูปร่าง หน้าตา และการแสดงออกของนักมวยปล้ำ
แต่ ล ะคนต่ า งก็ เ ป็ น รู ป สั ญ ญะที ่ ม ี ค วามหมายสั ญ ญะถึ ง
ความดี ความเลวแตกต่างกันไป จะเห็นได้ว่า โครงสร้างนิยม
โครงสร้ า งนิ ย มเชื ่ อ ว่ า ความหมายไม่ ใ ช่ ส ิ ่ ง ซึ ่ ง เป็ น ส่ ว นตั ว ที่โรลองด์ บาร์ตส์นำมาใช้ในการวิเคราะห์นั้นช่วยให้เราสามารถ
เฉพาะบุคคลแต่อย่างใด แต่เป็นโครงสร้างสากล ซึ่งโครงสร้าง มองเห็นความหมายในระดับที่สองของสิ่งต่าง ๆ [8]
ที่ว่านี้จะฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกของมนุษย์ (Subconscious) สกุ ล ความคิ ด แบบโครงสร้ า งนิ ย มเป็ น การเปลี ่ ย น
ทำให้เราสามารถเข้าใจความหมายของภาษาได้ และช่วยอธิบาย โฉมหน้ า วิ ธ ี ค ิ ด ของมนุ ษ ย์ อ ย่ า งใหญ่ ห ลวง จากเดิ ม ซึ ่ ง เคย
ว่า ภาษาที่แตกต่างทั้งหลายในโลกนี้ล้วนมีโครงสร้างร่วมกัน ยึดถือมนุษย์ด้วยกันเองเป็นหลักสำคัญ หรือเชื่อมั่นใน ‘มนุษย์
อย่างไรก็ตาม กรณีที่เห็นว่าภาษาแต่ละภาษามีความแตกต่าง ในฐานะที่เป็นองค์ประธานในการคิดสร้างสรรค์ (human as
กันเกิดจากวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น ๆ พัฒนาภาษาของตน a subject)’ หรือกระทำการใด ๆ ด้วยตนเอง เปลี่ยนแปลง
ไปเองภายใต้โครงสร้างร่วมดังกล่าว ไปสู ่ ม นุ ษ ย์ ใ นฐานะที ่ เ ป็ น ‘ร่ า งทรง’ ของภาษาเท่ า นั ้ น ซึ ่ ง
โครงสร้างนิยมได้มองงานประพันธ์ต่าง ๆ ในลักษณะ อาจกล่าวสรุปได้ว่า โครงสร้างนิยมจึงทำให้ภาษากลายเป็นแค่
เดี ย วกั บ การมองผลิ ต ผลทางเครื ่ อ งจั ก ร โดยเชื ่ อ ว่ า งาน วัตถุที่เป็นอิสระจากมนุษย์ในฐานะที่เป็นองค์ประธาน และ
ประพั น ธ์ ไ ม่ ใ ช่ ผ ลมาจากแรงขั บ เคลื ่ อ นของตั ว บุ ค คลใด ๆ ทำให้การวิพากษ์วรรณกรรมเข้าใกล้ความเป็นภววิสัย (objec-
โครงสร้างต่าง ๆ ในงานเขียนเป็น ‘สิ่งที่มีอยู่ก่อนแล้ว’ และ tivity) มากยิ่งขึ้น ลดความสำคัญของปัจเจกบุคคลในเชิง
นักประพันธ์เป็นเพียงแค่ผู้ที่หยิบเอาโครงสร้างเหล่านั้นมาสร้าง อัตวิสัย (subjectivity) ลง
เป็นลักษณะเฉพาะตนขึ้นมาอีกทอดหนึ่ง โครงสร้างนิยมยัง อย่ า งไรก็ ต าม ระบบสั ญ วิ ท ยาของโซซู ร ์ ไ ด้ เ ผยให้
เชื่อว่าภาษาและถ้อยความที่มนุษย์เขียนขึ้นเป็นการรวมตัว เห็นถึงขีดจำกัดในการนำไปอธิบายถึงโครงสร้างของประโยค
กันใหม่อีกครั้งขององค์ประกอบพื้นฐานจากระบบที่มีอยู่ก่อน (structure of sentence) เพราะสัญวิทยาสนใจแต่ความ
หน้ า นี ้ ทั ้ ง ภาษาพู ด และเขี ย นจึ ง ถื อ เป็ น ‘สิ ่ ง ซึ ่ ง ถู ก เขี ย น สั ม พั น ธ์ แ บบหนึ ่ ง ต่ อ หนึ ่ ง ระหว่ า งคำและความหมายของคำ
มาแล้ว’ และปราศจากกาลเวลา ดังนั้น เราจึงไม่ได้เป็นผู้พูด เท่านั้น มิได้ครอบคลุมไปถึงประโยค ตัวอย่างเช่น ถ้าเกิด
ภาษา แต่ “ภาษาเป็นผู้พูดเรา (Language speaks us.)” [6] การสลับคำในกลุ่มประโยคทำให้ประโยคนั้นไม่มีความหมาย
นั ก คิ ด และนั ก วิ จ ารณ์ ว รรณกรรมในเชิ ง โครงสร้ า ง แต่คำแต่ละคำยังคงมีความหมายในตัวเองอยู่ สัญวิทยาจะพบ
นิยมชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง คือ โรลองด์ บาร์ตส์ กับทางตันในการอธิบายสภาพดังกล่าวในทันที ยิ่งไปกว่านั้น
(Roland Barthes) ได้ประพันธ์ผลงานชื่อ Mythologies ในปี สัญวิทยายังมีลักษณะเป็น ‘ระบบปิด’ เนื่องจาก รูปสัญญะ
ค.ศ. 1957 ซึ่งเป็นงานรวบรวมบทความหลาย ๆ ชิ้นที่เคย เป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ต่อความหมายสัญญะ ไม่เปิด
ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารมาก่อน บาร์ตส์ได้ให้ความหมาย โอกาสให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของความหมาย
ของคำว่า ‘มายาคติ (mythology)’ ไว้ว่าคือ การสื่อความหมาย นั ก คิ ด ในสั ง คมแบบ ‘โพสต์ โ มเดิ ร ์ น (Post-
ด้วยคติความเชื่อทางวัฒนธรรมผ่านกระบวนการที่ทำให้รู้สึก modernism)’ หลายท่านได้หันมามองถึงปัญหาของโครงสร้าง
ว่าเป็น ‘ธรรมชาติ’ โดยไม่รู้ตัว มายาคติเป็นการสร้างความ นิยมในช่วงทศวรรษที่ 1960 ว่ามีลักษณะของ ‘การลดทอน
หมายในระดับที่ลึกกว่าความหมายตามปกติ ซึ่งบาร์ตส์ได้ (reduction)’ และพยายามค้นหาโครงสร้างสากลของภาษา
อาศัย ‘สัญวิทยาเชิงโครงสร้าง (Structural Semiotics)’ เป็น ซึ่งไม่มีอยู่ในความเป็นจริง นอกจากนี้ ยังโจมตีว่าโครงสร้าง
หลักในการพยายามค้นหาโครงสร้างความหมายของสิ่งต่าง ๆ นิ ย มปฏิ เ สธความสำคั ญ ของเวลาหรื อ ประวั ต ิ ศ าสตร์ ใ นการ
ผ่านทางมายาคตินี้ [7] วิเคราะห์สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มุ่งสนใจแต่ศูนย์กลาง (centrality)
ในงานเขียนชิ้นนี้ บาร์ตส์ ได้วิเคราะห์หาความหมาย ของโครงสร้างภาษาที่ปรับแต่งเป็นรูปร่างขึ้นมาเป็นหลัก ปัญหา
ของปรากฏการณ์ สิ่งของหรือเหตุการณ์อันหลากหลายในสังคม ทั้งหลายเหล่านี้ได้ทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านภาษาศาสตร์
เช่น มวยปล้ำ ผงซักฟอก โฆษณา หรือแม้แต่ภาพถ่ายของ ขึ้นในเวลาต่อมา จนกลายเป็นสกุลทางความคิดใหม่ที่เรียก
ผู้สมัคร ส.ส. โดยใช้หลักของสัญวิทยาเป็นเครื่องมือ ทำให้ กั น ว่ า ‘หลั ง โครงสร้ า งนิ ย ม (Poststructuralism)’ หลั ง
บาร์ตส์มองเห็นความหมายที่แฝงเร้นซ่อนอยู่ภายใต้ความหมาย
ที่เห็นเป็นสิ่งปกติหรือธรรมชาติ และอยู่นอกเหนือการมองเห็น
ความหมายในเชิงประโยชน์ใช้สอยเท่านั้น ตัวอย่างเช่น บาร์ตส์
มองเห็นว่า การเล่นมวยปล้ำนั้นเป็นมากกว่าการเล่นกีฬาที่ดู

The Signification and Significance in Architecture: From Structuralism to Poststructuralism


Assistant Professor Santirak Prasertsuk 135
โครงสร้างนิยมเป็นการพัฒนาโครงสร้างนิยมไปอีกระดับหนึ่ง
โดยริเริ่มการวินิจฉัยระบบสัญญะ อีกทั้งตั้งคำถามว่า ระบบ
สัญญะประกอบด้วยสองส่วนคือ รูปสัญญะและความหมาย
สัญญะเท่านั้นหรือ และความหมายของรูปสัญญะหนึ่งไม่ได้ขึ้น
อยู่กับรูปสัญญะตัวอื่น ๆ ทั้งที่เกี่ยวพันกันหรือแตกต่างกัน หลังโครงสร้างนิยมยังอธิบายว่า ความหมายของคำ ๆ
เลยหรือ หนึ่งนั้นมิได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ยังขึ้นอยู่กับความแตกต่าง
สกุลความคิดแบบหลังโครงสร้างนิยมได้พยายามเข้า ระหว่างคำ ๆ นั้นกับคำอื่น ๆ ด้วย ดังนั้น ความหมายใน
มาแก้จุดบอดของโครงสร้างนิยมในประเด็นดังกล่าว หลังโครง กรอบของหลังโครงสร้างนิยมคือ กระบวนการ ‘พลิ้ว’ ระหว่าง
สร้ า งนิ ย มให้ ค วามสำคั ญ กั บ ความหมายของคำและรู ป ของ ‘ความแตกต่างระหว่างรูปสัญญะและรูปสัญญะ (the play
ประโยค และเห็นว่ามโนทัศน์ตามความคิดของโครงสร้างนิยม between the difference from signifier to signifier)’
เป็นเพียงกลุ่มคำเท่านั้น ดังนั้นรูปสัญญะจึงเป็นเพียง ‘คำ’ ซึ ่ ง ไม่ ใ ช่ ค วามสั ม พั น ธ์ แ บบหนึ ่ ง ต่ อ หนึ ่ ง อี ก ต่ อ ไป และเป็ น
ซึ่งอ้างอิงไปถึง ‘คำอื่น ๆ’ และไม่ได้โยงออกไปถึงตัววัตถุ ความสัมพันธ์ที่ไม่ตายตัว เช่น การจะเข้าใจถึงความหมาย
นั้น ๆ เช่น คำว่า “dog” นั้น โครงสร้างนิยมจะมองว่า คำนี้ ของคำว่า “dog” เราจำเป็นต้องรู้ถึงความหมายของคำอื่น ๆ
ประกอบด้วยตัวอักษร d-o-g ทำหน้าที่เสมือนรูปสัญญะ โดย ที่แตกต่างจากคำว่า “dog” ด้วย หรือการที่จะเข้าใจความหมาย
สร้ า งมโนทั ศ น์ ใ นสมองของผู ้ ร ั บ รู ้ ว ่ า เป็ น สั ต ว์ ส ี ่ ข าชนิ ด หนึ ่ ง ของ ‘สี แ ดง’ จะต้ อ งเข้ า ใจถึ ง ความหมายของสี อ ื ่ น ๆ ที ่
ซึ่งเรียกว่า “dog” (สุนัข) นั่นก็คือ ความหมายเป็นความสัมพันธ์ แตกต่างด้วย มิฉะนั้นสีแดงจะไม่มีความหมายใด ๆ ต่อเราเลย
แบบตายตัวระหว่างคำหนึ่งคำกับมโนทัศน์ที่สัมพันธ์กันเท่านั้น ดั ง นั ้ น สกุ ล ความคิ ด แบบหลั ง โครงสร้ า งนิ ย มจึ ง วางอยู ่ บ น
แต่หลังโครงสร้างนิยมจะมองแตกต่างกันไป โดยมองว่า คำว่า ‘ตรรกะของความแตกต่าง (the logic of difference)’ ระหว่าง
“dog” คือกลุ่มคำหรือกลุ่มของรูปสัญญะซึ่งประกอบไปด้วย รูปสัญญะหนึ่งกับรูปสัญญะอื่น ๆ
พยัญชนะว่า สั-ต-ว์-สี่-ข-า-ช-นิ-ด-ห-นึ่-ง มิใช่มโนทัศน์ใน โรลองด์ บาร์ ต ส์ ซึ ่ ง เดิ ม เป็ น นั ก สั ญ วิ ท ยาเชิ ง โครง
สมองอีกต่อไป หลังโครงสร้างนิยมจึงอธิบายได้ว่า ทำไมคำว่า สร้ า งนิ ย มมาก่ อ น และต่ อ มาได้ เ ปลี ่ ย นมาเป็ น นั ก คิ ด เชิ ง
“dog” ในภาษาอั ง กฤษจึ ง มี ค วามหมายเท่ า กั บ ‘สุ น ั ข ’ ใน หลังโครงสร้างนิยมที่สำคัญในช่วงหลังของชีวิต ได้กล่าวย้ำ
ภาษาไทย คำตอบสามารถอธิบายได้ด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง ถึ ง แก่ น แท้ ข องหลั ง โครงสร้ า งนิ ย มในเชิ ง วรรณกรรมว่ า
รูปสัญญะในภาษาอังกฤษกับรูปสัญญะในภาษาไทย ซึ่งโครง นั ก เขี ย นเป็ น เพี ย งผลพวงหรื อ อิ ท ธิ พ ลหนึ ่ ง ของ ‘วาทกรรม
สร้างนิยมไม่สามารถให้คำตอบตรงนี้ได้ [9] (discourse)’ [10] มิใช่ผู้ริเริ่มในการคิดรูปแบบ (genre) ของ
สามารถสรุ ป ความแตกต่ า งระหว่ า งกระบวนการสื ่ อ งานเขียน เพราะรูปแบบนั้นมีมาก่อนหน้านี้แล้ว นักเขียนเป็น
ความหมายระหว่างโครงสร้างนิยมและหลังโครงสร้างนิยมได้ เพียงแค่ผ ู้หยิบเอารูปแบบดังกล่าวมาใช้เท่านั้น บาร์ตส์ได้
ดังนี้ สร้างงานเขียนอมตะเพื่อตอกย้ำถึงการสูญสิ้นบทบาทของนัก
ประพันธ์ในเชิงหลังโครงสร้างนิยมดังกล่าวที่ชื่อ The Death
โครงสร้างนิยม of the Author เมื ่ อ ปี ค.ศ. 1977 ซึ ่ ง แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง
รูปสัญญะ (signifier) ความหมายสัญญะ (signified) การสิ้นสุดของสภาวะปัจเจกบุคคล (individualism) หรือ
d-o-g → สัตว์สี่ขาชนิดหนึ่ง ความตายของสถานะที่มนุษย์เป็นองค์ประธาน (the death of
(word) (concept) human subject) อันเคยเป็นคุณลักษณะสำคัญของสกุล
ความคิดแบบโมเดิร์นมาก่อน
หลังโครงสร้างนิยม บาร์ตส์ยังได้นำเสนอแนวคิดเรื่อง ‘ตัวบท (text)’ ขึ้น
รูปสัญญะ (signifier) รูปสัญญะ (signifier) ซึ่งถือเป็นสารัตถะที่สำคัญของสกุลความคิดแบบหลังโครง
d-o-g → สั-ต-ว์-สี-่ ข-า-ช-นิ-ด-ห-นึ-่ ง สร้างนิยมตัวบทมิใช่งานเขียนในเชิงรูปธรรมหรือเนื้อหาของ
(word) (word) งานเขียนที่รอคอยผู้อ่านเข้าไปค้นหาความหมายแต่อย่างใด
แต่เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ ‘การสร้างความหมายแบบ
ไม่ ร ู ้ จ บ (significance)’ ในงานเขี ย น ซึ ่ ง แตกต่ า งไปจาก
‘การสื ่ อ ความหมาย (signification)’ เพราะแบบหลั ง เป็ น
ระบบที ่ ต ายตั ว ระหว่ า งตั ว งานเขี ย นกั บ ความหมายที ่ ถ ู ก สื ่ อ
ออกมา ทำให้การอ่านเป็นเพียงการค้นพบความหมายที่ตายตัว

Journal of Architectural/Planning Research and Studies Volume 3. 2005


136 Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University
สร้างความหมายตามกรอบเดิมได้ รูปสัญญะนั้นจึงต้องล่อง
ลอยไปเพื ่ อ ไปจั บ คู ่ ก ั บ ความหมายสั ญ ญะอื ่ น ๆ จนกว่ า จะ
ประสบความสำเร็จ
แดร์ ร ิ ด าใช้ ก ลวิ ธ ี แ บบดี ค อนสตรั ค ชั น ในการศึ ก ษา
ของผู้เขียนเท่านั้น ส่วนแบบแรกเป็นการอ่านที่ผู้อ่านค้นหา วรรณกรรมและปรัชญาด้วยกัน ใจความสำคัญของดีคอน-
ความหมายด้วยตนเอง การอ่ า นจึ ง ไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งขึ ้ น อยู ่ ก ั บ สตรัคชันนั้นอยู่ที่การวิเคราะห์ ชำแหละเข้าไปถึงกลวิธี สภาวะ
ผู้เขียนอีกต่อไป แต่ขึ้นอยู่กับผู้อ่านและงานเขียนเท่านั้น สมมติฐาน และกระบวนการของการ ‘พลิ้ว’ ของภาษา และ
ดังนั้น ตัวบทจึงมีลักษณะของการเปลี่ยนแปลง เลื่อนไหล การสร้ า งความหมายของการพู ด และการเขี ย น แดร์ ร ิ ด าใช้
เปิ ด โอกาสให้ ผ ู ้ อ ่ า นเป็ น ผู ้ ส ร้ า งความหมายจากการอ่ า นงาน กระบวนการที่เรียกว่า ‘ดิฟเฟอรองซ์ (différance)’ ซึ่งเป็นการ
เขียนชิ้นนั้น ๆ ด้วยตนเอง ตัวบทจึงถือเป็นการสลายความ วิพากษ์ถึงสิ่งซึ่งงานเขียนชิ้นนั้น ๆ มิได้พูดถึงหรือเมินเฉย
สำคั ญ ของผู ้ เ ขี ย น หรื อ ปฏิ เ สธมนุ ษ ย์ ใ นฐานะที ่ เ ป็ น องค์ ต่อสิ่งนั้นในการสร้างความสมบูรณ์และความครอบคลุมของ
ประธานนั่นเอง ตัวเองขึ้นมา แดร์ริดายังแสดงการต่อต้านแนวความคิดที่ว่า
มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) นักปรัชญาชาว ภาษาเป็นศูนย์กลางของกฎเกณฑ์และระเบียบต่าง ๆ ซึ่งเขา
ฝรั่งเศสในสายหลังโครงสร้างนิยม เป็นอีกผู้หนึ่งที่ได้หักล้าง เชื่อว่า แนวคิ ด ดั ง กล่ า วจะนำไปสู ่ ก ารปิ ด กั ้ น ทางความคิ ด
ความเชื ่ อ ทางโครงสร้ า งนิ ย ม ซึ ่ ง เคยยึ ด ถื อ เป็ น แบบแผน ในท้ายสุด
มาก่อนลงอย่างสิ้นเชิง ฟูโกต์สนใจอดีตหรือประวัติศาสตร์ แดร์ริดาเชื่อว่าไม่มีงานเขียนหรือแนวความคิดใด ๆ
ในฐานะที่เป็นเครื่องมือสำหรับการวินิจฉัยปัจจุบัน เขาไม่เชื่อว่า ที่สามารถบอกเล่า หรือทำความเข้าใจถึงทุกสิ่งทุกอย่างได้
จะมีโครงสร้างสากลซ่อนอยู่ภายใต้อันแท้จริงตามที่โครงสร้าง อย่างสมบูรณ์แบบ ถึงแม้ว่าเราเชื่อว่ามันเป็นเช่นนั้นจริงก็ตาม
นิยมเชื่อ และเป็นไปไม่ได้ที่จะก้าวออกไปจากวาทกรรม และ ดีคอนสตรัคชันเชื่อว่า วัตถุชิ้นหนึ่งนั้นมีหลายด้าน การมอง
วิ เ คราะห์ ส ถานการณ์ ด ้ ว ยพื ้ น ฐานทางระบบภววิ ส ั ย เพี ย ง วัตถุหนึ่งชิ้นจากมุมมองหนึ่งย่อมเป็นการรับรู้ในด้านเดียว
ด้านเดียว ดังนั้น ฟูโกต์เชื่อว่าการตัดสินเรื่องใดก็ตามขึ้นอยู่กับ โดยยังคงมีความเป็นไปได้ในการมองวัตถุชิ้นนั้นจากมุมอื่น ๆ
กรอบของความรู้ซึ่งเปลี่ยนผันไปโดยตลอดเวลา [11] อีก ดังนั้น จึงย่อมมีบางสิ่งในงานเขียนหรือแนวความคิดนั้น
สกุ ล ความคิ ด แบบหลั ง โครงสร้ า งนิ ย มยั ง ได้ แ ตก ลืมที่จะกล่าว ละเลยถึงบางสิ่งที่ถูกมองข้ามไปหรือบางส่วนที่
ขยายสาขาออกไป จนเกิดสกุลความคิดอีกสายหนึ่งคือ ‘หลัง ขาดหายไป ซึ่งการละเลยนั้นมีผลต่อโครงสร้างของ ‘ตัวบท’
โครงสร้างนิยมแบบสุดขั้ว (Extreme Poststructuralism)’ เช่น ในงานเขียนอาจมีการทอดทิ้งหรือละเลยในการกล่าวถึง
และมีนักปรัชญาทางสายนี้ที่มีชื่อเสียง คือ ฌาคส์ แดร์ริดา บุ ค คลใดหรื อ ไม่ วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องหนั ง สื อ ขาดการพู ด ถึ ง
(Jacques Derrida) ปรั ช ญาเมธี ช าวฝรั ่ ง เศสผู ้ ส ถาปนา หัวข้อใดหรือไม่ มีความเกี่ยวพันของตัวบทกับทางด้านอื่น เช่น
พื้นฐานปรัชญาที่เรียกขานเฉพาะว่า ‘ดีคอนสตรัคชัน (Decon- การเมืองหรือไม่
struction)’ ดี ค อนสตรั ค ชั น นั ้ น เป็ น ปรั ช ญาทางการเขี ย น ดี ค อนสตรั ค ชั น จึ ง เป็ น มากไปกว่ า การเปรี ย บเที ย บ
และการอ่านปรัชญาด้วยกันเอง ซึ่งมีอิทธิพลในวงการปรัชญา งานชิ้นหนึ่งกับมาตรฐานในการวิจารณ์ที่มีอยู่แล้ว แต่เป็นการ
และการวิจารณ์วรรณกรรมของโลกตะวันตกเป็นอย่างสูงใน ค้ น หาช่ อ งทางหรื อ วิ ธ ี ก ารที ่ ง านเขี ย นนั ้ น ได้ แ สดงถึ ง สิ ่ ง ซึ ่ ง
ราวทศวรรษที่ 1970 คาบเกี่ยวไปยังช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 ถูกมองข้ามไป โดยใช้ ‘วิธีการเคลื่อนย้าย (displace)’ จาก
จากนั้นได้แพร่ไปสู่วงการศิลปะแขนงอื่น ๆ การค้นหาจากสิ่งซึ่งอยู่ภายในตัวเองไปสู่สิ่งซึ่งอาจอยู่ภายนอก
สารัตถะสำคัญของดีคอนสตรัคชัน ได้แก่ การโจมตี หรือ ‘ตัวบทอื่น (other texts)’ เช่น การวิพากษ์วรรณกรรม
แนวคิ ด ของโครงสร้ า งนิ ย มซึ ่ ง เชื ่ อ ว่ า ภาษานั ้ น มี โ ครงสร้ า ง ในเชิงแบบแผนทั่วไปจะเน้นการวิจารณ์ไปตามเนื้อหาและข้อดี
สากลอยู ่ เ บื ้ อ งหลั ง และสามารถอธิ บ ายทุ ก สิ ่ ง ทุ ก อย่ า งได้ ข้อเสียของงานชิ้นนั้นเพียงด้านเดียว และมักจะเป็นไปในแนว
แต่แดร์ริดาไม่เชื่อว่าโครงสร้างสากลนั้นมีอยู่จริง แต่กลับเห็น เชิ ง เส้ น เช่ น a ก่ อ ให้ เ กิ ด b แต่ ด ี ค อนสตรั ค ชั น จะมอง
ตรงข้ า มว่ า ภาษาเป็ น สิ ่ ง ที ่ ไ ร้ ร ะเบี ย บและไม่ ม ี เ สถี ย รภาพ กลับกันว่า b อาจไม่ได้เกิดจาก a แต่เพียงอย่างเดียว แต่อาจ
และความหมายสามารถชะลอ เลื ่ อ น หรื อ ผั น แปรไปตาม ได้รับผลมาจากปัจจัยอื่น ๆ อีกด้วย วิธีการมองแบบกลับความ
บริบท (context) ที่เปลี่ยนไปโดยตลอดเวลา แนวความคิดนี้ สัมพันธ์นี้ทำให้เกิดความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างตัวบทหนึ่งไปสู่
สอดคล้องกับสิ่งที่ โรลองด์ บาร์ตส์ เรียกว่า ‘สัญญะที่ล่องลอย ตัวบทอื่น ๆ ที่เรียกกันว่า ‘สัมพันธบท (intertextuality)’ ขึ้น
(free - floating signifier)’ ซึ่งหมายถึง สภาวะที่รูปสัญญะ
ไม่สามารถจับคู่กับความหมายสัญญะแบบหนึ่งต่อหนึ่ง เพื่อ

The Signification and Significance in Architecture: From Structuralism to Poststructuralism


Assistant Professor Santirak Prasertsuk 137
อาจกล่าวต่อไปได้อีกว่า ปรัชญาดีคอนสตรัคชันมอง
ทุกสิ่งทุกอย่างเฉกเช่น ‘ตัวบท’ เช่น ปรากฏการณ์ทางสังคม
ก็ถือเป็นตัวบทหนึ่ง โดยที่ตัวบทในกรอบของดีคอนสตรัคชัน
เป็ น คำซึ ่ ง ใช้ แ สดงถึ ง การเคลื ่ อ นย้ า ยความสั ม พั น ธ์ อ ั น เป็ น
แบบแผนระหว่างรูปทรงหนึ่งกับความหมายของมัน เป็นการ ในงานประพันธ์เล่มดังกล่าว เควิน ลินช์ กล่าวถึงการ
แสดงถึ ง ‘โครงสร้ า ง’ ของรู ป ทรงของการเล่ า เรื ่ อ งตั ว บท ศึกษาถึง ‘ภาพทางจิต (mental image)’ ของเมือง และ
มิใช่สิ่งซึ่งมีความสมบูรณ์ในตัวเอง แต่กอปรด้วยสายใยของ ‘การอ่านภาพลักษณ์’ ของเมือง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการแสวงหา
‘ร่องรอย (trace)’ ซึ่งอ้างอิงไปถึงบางสิ่งนอกเหนือจากตัวมันเอง ความเพลิดเพลินและการใช้ประโยชน์จากเมืองที่เราอยู่อาศัย
ดังนั้น ตัวบทจึงเป็นสภาวะของการเคลื่อนย้ายจากตัวมันเอง องค์ประกอบของเมือง ๆ หนึ่งสามารถถูกแบ่งย่อยออกเป็น
ออกไปสู ่ ภ ายนอก ไม่ ไ ด้ อ ้ า งอิ ง อยู ่ บ นโครงสร้ า งภายใน องค์ประกอบขนาดเล็กที่สัมพันธ์กันเหมือนกับพยัญชนะทาง
ตัวเองแต่ประการใด และมิใช่หมายถึง การรื้อทำลายโครงสร้าง ภาษา และช่วยจำแนกสถานที่แต่ละแห่งให้มีเอกลักษณ์เป็นของ
จนหมดสิ้นอีกด้วย [12] ตัวเอง อันได้แก่ เส้นทาง (paths) เส้นขอบ (edges) ย่าน
(districts) ชุมทาง (nodes) และภูมิสัญลักษณ์ (landmarks)
(รูปที่ 4)
สถาปัตยกรรมในสถานะที่เป็นภาษาที่สอง เมืองหลายเมืองในสหรัฐอเมริกา เช่น ลอส แองเจลิส
Architecture as a Second Language บอสตัน (รูปที่ 5) และนิวเจอร์ซีย์ซิตี้ เป็นต้น ได้ถูกลินช์
นำมาเป็นกรณีศึกษาถึงสภาพของเมืองที่ผู้คนสามารถจดจำ
อิทธิพลของภาษาศาสตร์ได้แพร่ขยายไปสู่วงการศึกษา ได้ด้วยกระบวนการดังกล่าว วิธีการนี้ได้นำไปสู่แนวความคิด
ทางด้ า นอื ่ น เช่ น สั ง คมวิ ท ยา รั ฐ ศาสตร์ และท้ า ยสุ ด คื อ สรุ ป ที่ว ่ า รู ป ทรงใดจะช่ ว ยสร้ า งภาพที ่ ช ั ด เจนในการจดจำ
สถาปัตยกรรมศาสตร์ การศึกษาและการออกแบบสถาปัตย- สถานที่นั้น ๆ และรูปทรงใดจะยึดถือเป็นกฎเกณฑ์ของการ-
กรรมได้รับเอาวิธีการคิดในเชิงภาษาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ออกแบบชุมชนเพื่อที่จะแก้ปัญหาซึ่งเป็นอยู่ได้บ้าง [13] (รูปที่ 6)
ทางด้านสัญวิทยาเข้ามาใช้ ทำให้สถาปัตยกรรมถูกพิจารณา อีกหนึ่งอิทธิพลของโครงสร้างนิยมต่องานศึกษาทาง
ในสถานะใหม่ คือสถานะของภาษาอันประกอบด้วยชุดของ สถาปัตยกรรม พบได้ในงานเขียนของ คริสเตียน นอร์เบิร์ก-
หน่ ว ยย่ อ ยพื ้ น ฐาน ซึ ่ ง อยู ่ ร ่ ว มกั น ภายใต้ ค วามสั ม พั น ธ์ เ ชิ ง ชู ล ซ์ (Christian Norberg-Schulz) Intentions in
โครงสร้าง และก่อให้เกิดความหมาย Architecture ในปี ค.ศ. 1965 ซึ่งนอร์เบิร์ก-ชูลซ์ ให้ความ
สกุลทางความคิดแบบโครงสร้างนิยมนั้นมีความสอด- สนใจในประเภทของอาคาร (typology) และการเปลี่ยนแปลง
คล้องเป็นอย่างดีกับงานศิลปะในเชิงนามธรรม (abstract art) ของรูปทรง (morphology) ไปตามกาล ราวกับพยัญชนะทาง
และสถาปัตยกรรมโมเดิร์น ซึ่งมุ่งแสวงหาภาษาอันเป็นสากล ภาษา ซึ่งสามารถนำมาใช้สร้างสรรค์สถาปัตยกรรม ส่วนผล
และความหมายที่ต้องการแสดงออก สถาปนิกจำนวนหนึ่งได้ ของโครงสร้างนิยมต่องานออกแบบสถาปัตยกรรมในเชิงรูปธรรม
แยกแยะสถาปัตยกรรมออกเป็นองค์ประกอบย่อย อิทธิพล นั้น จะเห็นได้จากผลงานของสถาปนิกกลุ่ม ‘นิวยอร์คไฟว์
ของสกุลความคิดแบบโครงสร้างนิยมได้เริ่มแทรกซึมเข้าไป (New York Five)’ ซึ่งประกอบด้วย ปีเตอร์ ไอเซนแมน (Peter
ในสถาปัตยกรรมในช่วงราวทศวรรษที่ 1960 เกิดการค้นหา Eisenman) ชาร์ลส์ กวอทมีย์ (Charles Gwatmey) จอห์น
ระบบการสื่อสารทางรหัสของความหมายทางสถาปัตยกรรม เฮจดุค (John Hejduk) ไมเคิล เกรฟส์ (Michael Graves)
อี ก ครั ้ ง ความพยายามในการแปลสถาปั ต ยกรรมและองค์ และริชาร์ด ไมเออร์ (Richard Meier) ทั้งห้าท่านได้นำเอา
ประกอบของเมื อ งเหมื อ นโครงสร้ า งภาษาได้ น ำไปสู ่ ท ิ ศ ทาง ภาษาทางสถาปัตยกรรมเชิงภววิสัยของเลอ คอร์บูซิเอร์ มา
อันหลากหลาย ความสำเร็จหนึ่งที่ชัดเจน ได้แก่ The Image พัฒนาต่อยอดจนเกิดเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมบ้านพักอาศัย
of the City ผลงานการประพันธ์ที่ส่งอิทธิพลต่อการศึกษา และอาคารสาธารณะอันน่าสนใจในช่วงทศวรรษที่ 1970 เป็น
เรื่องการวางผังเมืองกับการตีความองค์ประกอบทางการมองเห็น จำนวนมาก
ถูกเขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1960 โดยสถาปนิกชาวอเมริกันชื่อ ภายหลังจากที่สกุลทางความคิดแนวหลังโครงสร้าง-
เควิน ลินช์ (Kevin Lynch) นิ ย มเข้ า มาทดแทนข้ อ บกพร่ อ งของโครงสร้ า งนิ ย ม ทำให้
หลังโครงสร้างนิยมส่งผลอย่างสูงต่อการพยายามวิเคราะห์ และ
ค้นหาความหมายของปรากฏการณ์และสิ่งต่าง ๆ ในสังคม
และท้ า ยที ่ ส ุ ด ได้ ส ่ ง ผลต่ อ รู ป แบบของสถาปั ต ยกรรมในยุ ค

Journal of Architectural/Planning Research and Studies Volume 3. 2005


138 Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University
รูปที่ 5 ทัศนียภาพของเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเส็ตต์
ประเทศสหรัฐอเมริกา

รูปที่ 6 แผนภาพแสดงการวิเคราะห์รูปทรงทางสายตาของเมืองบอสตัน

รูปที่ 4 องค์ประกอบย่อยของเมือง เรียงลำดับจากบนลงล่าง ได้แก่


เส้นทาง (paths) เส้นขอบ (edges) ย่าน (districts)
ชุมทาง (nodes) และภูมิสัญลักษณ์ (landmarks)

The Signification and Significance in Architecture: From Structuralism to Poststructuralism


Assistant Professor Santirak Prasertsuk 139
โพสต์โมเดิร์นเป็นอย่างสูง ประเด็นที่เด่นชัดของหลังโครง-
สร้างนิยม ซึ่งทิ้งคำถามโดยตรงต่อสถาปัตยกรรมโพสต์โมเดิร์น
มีสองประเด็นด้วยกันคือ ‘สถานะของประธานและภาษา’ กับ
‘สถานะของประวัติศาสตร์กับการสื่อแสดงออก’ [14] ทั้งสอง
ประเด็นนี้ส่งผลให้บทบาทของสถาปนิกลดลงเฉก เช่นเดียวกับ
นักประพันธ์ในฐานะที่เป็นองค์ประธานและทำให้ ‘ความเป็น
ต้นแบบ (originality)’ ไม่จำเป็นอีกต่อไป ดังนั้น ยุทธศาสตร์
ที ่ ส ำคั ญ อั น หนึ ่ ง ของโพสต์ โ มเดิ ร ์ น ในสถาปั ต ยกรรมคื อ
‘การหยิบยืม’ หรือ ‘การผลิตซ้ำ’ หรือ ‘การสื่อซ้ำ’ ในบริบทใหม่
โดยอาศัยประวัติศาสตร์เป็นกุญแจสำคัญ
งานเขียนและงานวิจัยของโรเบิร์ต เวนทูรี่ (Robert
Venturi) สถาปนิกโพสต์โมเดิร์นชาวอเมริกันในช่วงทศวรรษ
ที ่ 1960 เป็ น ตั ว อย่ า งที ่ ช ั ด เจนและสำคั ญ เป็ น อย่ า งสู ง ต่ อ
การศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมและผังเมืองด้วยวิธีการทาง
สัญวิทยา ในงานเขียนที่ชื่อ Complexity and Contradiction
in Architecture นั้น เวนทูรี่ ได้แสดงให้เห็นถึงความสนใจ
ในองค์ ป ระกอบทางสถาปั ต ยกรรมในอดี ต โดยเฉพาะใน
สถาปัตยกรรมอิตาลีซึ่งสื่อถึงความซับซ้อน ความขัดแย้ง และ
ความคลุมเครือ หลังจากนัน้ ในงานวิจยั ภาคสนามทีช่ อ่ื Learning รูปที่ 7 ระบบสัญญะที่ปรากฏในเมืองลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา
From Las Vegas เวนทูรี่ ได้ตอกย้ำความสนใจของเขาใน สื่อสารถึงชื่อสถานที่ รูปแบบสถาปัตยกรรม และกิจกรรม
เรื่องของระบบสัญญะ และการสื่อความหมายของสถาปัตย- ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอาคารนั้น ๆ
กรรมท่ามกลางวัฒนธรรมบริโภคนิยม (รูปที่ 7) จนนำไปสู่
งานออกแบบของเขาเองจำนวนหลายชิ ้ น ที ่ ส ่ ง อิ ท ธิ พ ลต่ อ
สถาปัตยกรรมแบบ ‘โพสต์โมเดิร์นแนวประวัติศาสตร์นิยม
(Postmodern Historicism)’ (รูปที่ 8)

รูปที่ 8 บ้านของแวนนา เวนทูรี่ (Vanna Venturi’s House) เมืองฟิลาเดลเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา


ออกแบบโดย โรเบิร์ต เวนทูรี่ สถาปัตยกรรมโพสต์โมเดิร์นแนวประวัติศาสตร์นิยม ซึ่งมีรูปสัญญะขององค์ประกอบ
จากสถาปัตยกรรมในอดีต

Journal of Architectural/Planning Research and Studies Volume 3. 2005


140 Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University
โรเบิ ร ์ ต สเติ ร ์ น (Robert Stern) สถาปนิ ก โพสต์ ราวทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา สถาปัตยกรรมโพสต์-
โมเดิ ร ์ น แนวประวั ต ิ ศ าสตร์ น ิ ย ม ชาวอเมริ ก ั น อี ก ท่ า นหนึ ่ ง โมเดิร ์นได้พัฒนาไปสู่อีกแนวทางหนึ่ง คือ ‘โพสต์โมเดิร ์น
ได้ ก ล่ า วอย่ า งชั ด เจนว่ า ประวั ต ิ ศ าสตร์ ส ถาปั ต ยกรรม คื อ แนวพหุนิยม (Postmodern Pluralism)’ ซึ่งสอดคล้องกับ
ประวัติศาสตร์ของความหมาย ดังนั้น สถาปัตยกรรมจะต้อง การเกิดขึ้นของสกุลความคิดแบบหลังโครงสร้างนิยม สถา-
ถูกออกแบบเพื่อสื่อความหมายบางอย่าง และกระตุ้นให้เกิด ปัตยกรรมแนวพหุนิยมจะมุ่งเน้นการสร้างความซับซ้อนของ
การอ่านสารในหลายหนทาง [15] สเติร์นยังมองรูปแบบ (style) ที่ว่างภายในสถาปัตยกรรม การวางองค์ประกอบและรูปทรงที่
ของสถาปัตยกรรมราวกับภาษาว่ามีการวิวัฒนาการตลอดเวลา หลากหลาย การนำเอารู ป แบบและองค์ ป ระกอบของภาพที ่
และปรับตัวเข้ากับสภาวะใหม่ ๆ เสมอ รูปแบบสถาปัตยกรรม คุ้นเคยมาใช้กับการออกแบบ ซึ่งไม่จำกัดอยู่เพียงแค่การนำ
นั้นสามารถแยกออกเป็น 2 องค์ประกอบเหมือนกับภาษา คือ องค์ประกอบจากสถาปัตยกรรมในอดีตมาใช้เท่านั้น แต่มาจาก
1. วากยสัมพันธ์ (syntax) หรือรูปแบบ (form) คือ อิทธิพลอื่น ๆ เช่น ร่างกายมนุษย์ รูปทรงของสัตว์ในเชิง
วิธีที่คำหรือองค์ประกอบอื่น ๆ ของโครงสร้าง เปรี ย บเที ย บหรื อ รู ป แบบของวั ฒ นธรรม แนวทางนี ้ เ ป็ น ที ่
ประโยคถูกเชื่อมเข้าด้วยกันเป็นรูปทรงของประโยค ยอมรับมากกว่าแนวทางประวัติศาสตร์นิยม เพราะไม่ถือเป็น
2. วาทศิลป์ (rhetoric) หรือเนื้อหา (content) คือ การลอกเลี ย นแบบจากอดี ต มาเพี ย งอย่ า งเดี ย ว และยั ง ไม่
รูปแบบของการเขียน จำกัดถึงการสื่อความหมายแบบหนึ่งต่อหนึ่ง แต่สร้างระบบ
สเติร์นกล่าวว่า ขณะที่สถาปัตยกรรมโมเดิร์นไม่ใยดี การสื ่ อ ความหมายที ่ ซ ั บ ซ้ อ นและขั ด แย้ ง ขึ ้ น สามารถอ่ า น
ต่อเนื้อหาของคลาสสิค แต่ยังคงเก็บรูปแบบหรือรูปทรงเอาไว้ ความหมายของสถาปัตยกรรมได้หลายรูปแบบ (รูปที่ 9)
สกุลความคิดแบบโพสต์โมเดิร์นจึงเป็นการหันกลับไปหาเนื้อแท้ อิ ท ธิ พ ลของสกุ ล ความคิ ด แบบหลั ง โครงสร้ า งนิ ย ม
ของคลาสสิคอีกครั้ง ซึ่งวิธ ีการของสถาปนิกโพสต์โมเดิร ์น ยั ง ก่ อ ให้ เ กิ ด รู ป แบบของสถาปั ต ยกรรมอี ก แนวทางหนึ ่ ง ที ่
แนวประวัติศาสตร์นิยมในการสร้างเนื้อหาแบบคลาสสิคต่างก็ เรียกว่า ‘สถาปัตยกรรมดีคอนสตรัคชัน (Deconstruction)’
ไม่ เ หมื อ นกั น ขึ ้ น อยู ่ ก ั บ กลวิ ธ ี ข องแต่ ล ะคน สเติ ร ์ น อ้ า งว่ า ซึ ่ ง เกิ ด ขึ ้ น ราวปลายทศวรรษที ่ 1980 ดี ค อนสตรั ค ชั น เป็ น
รูปทรงของสถาปัตยกรรมแบบโพสต์โมเดิร์นเป็นสัจจะที่แท้จริง การนำเอาหลังโครงสร้างนิยมแบบสุดขั้ว ซึ่งเรียกกันว่า ปรัชญา
ไม่ใช่นามธรรม และเป็นตัวสะท้อนถึงประวัติศาสตร์ วัตถุ แบบดีคอนสตรัคชัน มาผสานเข้ากับสถาปัตยกรรม โดยองค์
ประสงค์ บริบทโดยรอบ สังคม วัฒนธรรม และการเมือง อาคาร ประกอบย่อยของสถาปัตยกรรม เช่น เสา ผนัง ฯลฯ ถูก ‘รื้อ-
จึงมีความหมายบางอย่างไม่ใช่เพียงแค่วัตถุปิดล้อมเท่านั้น สร้าง’ ขึ้นมาใหม่ราวกับพยัญชนะในภาษา ดีคอนสตรัคชัน

รูปที่ 9 พิพิธภัณฑ์เรขศิลป์โอคาโนยามะ (Okanoyama Graphic Art Museum) เมืองเฮียวโก


ประเทศญี่ปุ่น ออกแบบโดย อาราตะ อิโซซากิ สถาปัตยกรรมโพสต์โมเดิร์นแนวพหุนิยม
นำเอาองค์ประกอบจากหลาย ๆ สิ่ง เช่น ขบวนรถไฟ สถาปัตยกรรมคลาสสิค และปิระมิด เป็นต้น

The Signification and Significance in Architecture: From Structuralism to Poststructuralism


Assistant Professor Santirak Prasertsuk 141
รูปที่ 10 ศูนย์ทัศนศิลปะเวกซ์เนอร์ (Wexner Center for the Visual Arts)
รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ออกแบบโดย ปีเตอร์ ไอเซนแมน
สถาปัตยกรรมดีคอนสตรัคชันซึ่งนำเอาปรัชญาทางวรรณกรรมมาเป็นพื้นฐาน
ของการออกแบบ

ในเชิงสถาปัตยกรรมเป็นการวิเคราะห์ หรือชำแหละเข้าไปถึง การสื่อและการสร้างความหมายในสถาปัตยกรรมโพสต์โมเดิร์น


กลวิธี สภาวะ สมมติฐาน และกระบวนการของการ ‘พลิ้ว’ ของ แนวประวัติศาสตร์นิยม และดีคอนสตรัคชัน: กรณีศึกษา
ภาษาในสถาปัตยกรรม การสื่อสารทางความหมายของการออก Signification and Significance in Postmodern
แบบและการก่อสร้าง และการสร้างสภาวะของการปรากฏ หรือ Historicism and Deconstruction Architecture: Case
การดำรงอยู่ (presence) ในการก่อรูปของโครงสร้าง (รูปที่ 10) Study
สถาปั ต ยกรรมในรู ป แบบดี ค อนสตรั ค ชั น เป็ น การ
ทดลองกับองค์ประกอบพื้นฐานทางสถาปัตยกรรม พยายาม กระบวนการสื่อและการสร้างความหมายที่แตกต่าง
สร้างความหมายใหม่ให้เกิดขึ้นด้วยไวยากรณ์แบบเดิม ทำให้ กั น ในสถาปั ต ยกรรมโพสต์ โ มเดิ ร ์ น แนวประวั ต ิ ศ าสตร์ น ิ ย ม
สถาปัตยกรรมหลุดพ้นไปจากระบบความคิดในเชิงเปรียบเทียบ และดีคอนสตรัคชัน จะนำเอาอาคารพักอาศัย 2 แห่งมาใช้เป็น
หรือการอุ ป มาอุ ป มั ย และสร้ า งสภาวะของคู ่ ต รงข้ า มหรื อ กรณีศึกษาเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นกระบวนการที่แตกต่างกัน
‘ทวิ ล ั ก ษณ์ ป ฏิ ภ าคสั ม พั น ธ์ (binary oppositions)’ ใน ซึ่งจะนำไปสู่การอ่านสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันอีกด้วย กรณี
สถาปัตยกรรม ซึ่งถูกเพิกเฉยมาโดยตลอด เช่น ความงาม/ ศึกษาทั้งสอง ได้แก่ อาคารพักอาศัย 2 แห่ง คืออาคารกิลด์เฮาส์
ความอัปลักษณ์ ความมั่นคง/ความไม่มั่นคง เป็นต้น ทำให้ (Guild House) เมืองฟิลาเดลเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
สถาปัตยกรรมมีลักษณะเชิงปฏิเสธต่อระบบทีม่ อี ยู่ และอาคารพักอาศัยไอบีเอ (IBA Housing) เมืองเบอร์ลิน
การสื ่ อ ความหมายในสถาปั ต ยกรรมโพสต์ โ มเดิ ร ์ น ประเทศเยอรมนี
แนวประวัติศาสตร์นิยมแตกต่างไปจากสถาปัตยกรรมโพสต์
โมเดิร์นแนวพหุนิยมและดีคอนสตรัคชัน แนวประวัติศาสตร์ 1. อาคารกิลด์ เฮาส์
นิยมนั้นเป็นการนำเอาระบบสัญญะทางภาษามาใช้ และเป็น เป็ น สถาปั ต ยกรรมโพสต์ โ มเดิ ร ์ น แนวประวั ต ิ -
การสื่อความหมายที่ตายตัวแบบหนึ่งต่อหนึ่งระหว่างรูปทรงกับ ศาสตร์นิยม ออกแบบโดยโรเบิร์ต เวนทูรี่ (Robert Venturi)
ความหมาย ขณะที่สถาปัตยกรรมแนวพหุนิยมและดีคอน- สถาปนิกชาวอเมริกัน สร้างขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1960 - 1963
สตรัคชันจะสัมพันธ์กับสกุลความคิดแบบหลังโครงสร้างนิยม เพื ่ อ เป็ น อาคารพั ก อาศั ย สำหรั บ คนชราจำนวน 91 หน่ ว ย
อย่ า งชั ด เจน เพราะปฏิ เ สธความสั ม พั น ธ์ แ บบหนึ ่ ง ต่ อ หนึ ่ ง ความสูง 6 ชั้น รูปด้านหน้าของอาคารจะซับซ้อนแตกต่างจาก
ระหว่างรูปทรงหรือลวดลายกับความหมาย นำเสนอกระบวน ด้านหลัง ซึ่งดูเรียบธรรมดาไม่ต่างจากอาคารพักอาศัยทั่ว ๆ ไป
การสร้างความหมายที่ซ ับซ้อน ทำให้สถาปัตยกรรมเปรียบ ผั ง ของอาคารค่ อ นข้ า งซั บ ซ้ อ น (รู ป ที ่ 11) ประกอบด้ ว ย
ได้ ก ั บ ‘สาร’ ที ่ ส ามารถตี ค วามได้ ห ลากหลายกลายเป็ น รู ป ห้องพักขนาดแตกต่างกัน เชื่อมด้วยทางเดินกลาง และมีห้อง
สัญญะที่โยงไปถึงรูปสัญญะอื่น ๆ หรือสัญญะที่เลื่อนลอย สันทนาการรวม ตั้งอยู่ชั้นบนสุดของอาคาร

Journal of Architectural/Planning Research and Studies Volume 3. 2005


142 Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University
รูปที่ 11 ผังอาคารชั้นล่าง

รูปที่ 12 ภายนอกอาคาร แสดงถึงรูปสัญญะมากมายที่สถาปนิกต้องการสื่อ

โรเบิ ร ์ ต เวนทู ร ี ่ ได้ ส ร้ า งรู ป สั ญ ญะไว้ ม ากมายบน 1.2 การสื ่ อ ความหมายถึ ง ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง
พื ้ น ผิ ว ภายนอกด้ า นหน้ า ของตั ว อาคาร เพื ่ อ สื ่ อ ความหมาย อาคารกับบริบทที่ตั้ง ได้แก่ การใช้ผนังอิฐสีน้ำตาล
สั ญ ญะหลายอย่ า งตามกรอบการคิ ด แบบสั ญ วิ ท ยาเชิ ง โครง เข้มและหน้าต่างบนผนังอาคาร ซึ่งไม่แตกต่างไป
สร้างนิยม (รูปที่ 12) ได้แก่ จากวั ส ดุ แ ละรู ป แบบของอาคารแถวโดยทั ่ ว ไป
1.1 การสื ่ อ ความหมายระหว่ า งรู ป สั ญ ญะกั บ ความ ในเมืองฟิลาเดลเฟีย ในขณะที่รูปทรงซับซ้อนของ
หมายสัญญะระดับพื้นฐาน ได้แก่ การติดตั้งป้าย อาคารไม่ได้สะท้อนถึงบริบทเท่าใดนัก
ชื่ออาคารขนาดใหญ่ไว้เหนือทางเข้าอาคาร พร้อม
ทั ้ ง การใช้ ส ี ข าวบนผนั ง รอบทางเข้ า แตกต่ า งไป รูปสัญญะ (signifier) ความหมายสัญญะ (signified)
จากสีทั่วไปของอาคาร เพื่อสื่อถึงตำแหน่งทางเข้า ผนังอิฐและหน้าต่าง → รูปแบบอาคารแถวในเมืองฟิลาเดลเฟีย
หลักของอาคารต่อผู้มาเยือน ซึ่งเวนทูรี่ได้เรียก
การสื่อสารในรูปแบบที่นำเอาเรขนิเทศน์ (graphic) 1.3 การสื ่ อ ความหมายระหว่ า งรู ป สั ญ ญะกั บ ความ
มาใช้ประกอบตัวอาคารเพื่อสื่อถึงความหมายบาง หมายสัญญะในระดับที่เหนือกว่าประโยชน์ใช้สอย
ประการว่า ‘เพิงที่ประดับประดา (decorated shed)’ ได้แก่ การทำหน้าต่างโค้งครึ่งวงกลมขนาดใหญ่
ของผนังชั้นบนสุด เพื่อสื่อถึงกิจกรรมของบริเวณ
รูปสัญญะ (signifier) ความหมายสัญญะ (signified) นั้นว่าเป็นห้องสันทนาการรวมของผู้อาศัยแตกต่าง
ป้ายอาคารและผนังสีขาว → ทางเข้าอาคาร ไปจากรู ป แบบหน้ า ต่ า งของห้ อ งพั ก อาศั ย โดย

The Signification and Significance in Architecture: From Structuralism to Poststructuralism


Assistant Professor Santirak Prasertsuk 143
ทั่วไป นอกจากนี้ เวนทูรี่ยังจงใจวางเสาโทรทัศน์ จะเห็นได้ว่า เวนทูรี่ได้สร้างรูปสัญญะ เช่น ผนังอิฐ
ขนาดใหญ่ เ หนื อ ห้ อ งดั ง กล่ า ว เพื ่ อ สื ่ อ ถึ ง ผู ้ ใ ช้ หน้าต่าง ป้ายอาคาร ผนังสีขาว หน้าต่างโค้งครึ่งวงกลม เสา
อาคารนี้คือ คนสูงอายุซึ่งมีกิจกรรมหลักคือ การ โทรทัศน์ และเส้นสีขาวบนผนังเพื่อสื่อความหมายสัญญะบาง
ดู โ ทรทั ศ น์ อ ั น เป็ น วั ฒ นธรรมของคนอเมริ ก ั น ประการ นอกเหนือไปจากความหมายพื้นฐานในเชิงประโยชน์
อย่างชัดเจน ใช้สอยของรูปสัญญะเหล่านั้น ระบบสัญญะเหล่านี้ได้สร้าง
ความสัมพันธ์แบบตายตัวระหว่างรูปสัญญะกับความหมาย
รูปสัญญะ (signifier) ความหมายสัญญะ (signified) สัญญะ ทำให้การอ่านความหมายเป็นเพียงการค้นพบสารที่
หน้าต่างโค้งครึง่ วงกลม → พืน้ ทีส่ ำหรับกิจกรรมสันทนาการรวม สถาปนิกต้องการสื่อเท่านั้น และการอ่านจึงเป็นเรื่องระหว่าง
เสาโทรทัศน์ → คนชรา ‘สถาปนิก’ กับ ‘สถาปัตยกรรม’ โดยที่สถาปนิกยังมีความสำคัญ
ในแง่ของการเป็นองค์ประธานในการสร้างสถาปัตยกรรม
1.4 การสื ่ อ ความหมายระหว่ า งรู ป สั ญ ญะกั บ ความ
หมายสัญญะในเชิงนามธรรม ได้แก่ เส้นแถบสีขาว 2. อาคารพักอาศัยไอบีเอ
ซึ่งปรากฏบนผนังอาคารในบริเวณขอบหน้าต่าง จัดเป็นสถาปัตยกรรมแบบดีคอนสตรัคชัน สร้างขึ้น
ชั้นที่ 5 ของอาคารวิ่งไปโดยรอบอาคาร ยกเว้น ระหว่างปี ค.ศ. 1980 - 1986 ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอเมริกัน
ส่วนด้านหน้าสุดเท่านั้น เส้นสีขาวดังกล่าวทำหน้าที่ เช่นเดียวกัน คือ ปีเตอร์ ไอเซนแมน (Peter Eisenman)
ในการสร้างสภาวะลวงตาของรูปทรงอาคารทั้งหมด เพื่อเป็นอาคารพักอาศัยสำหรับผู้มีรายได้ต่ำจำนวน 37 หน่วย
ให้ดูประหนึ่งตัวอาคารนั้นถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ตั้งอยู่ในบริเวณสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เรียกว่า ‘Check-
ด้วยกัน คือ ส่วนอาคาร 5 ชั้นล่าง และส่วนอาคาร point Chalie’ ใกล้ ก ั บ แนวกำแพงเบอร์ ล ิ น เดิ ม ปี เ ตอร์
ชั้นบนสุดวางซ้อนอยู่ด้วยกัน ทั้งที่ความเป็นจริง ไอเซนแมน สถาปนิกผู้ชนะเลิศการประกวดออกแบบได้วางผัง
คือ อาคารเดียวกันสูงต่อเนื่องขึ้นไป เส้นสีขาว ทั้งหมด ประกอบด้วยกลุ่มอาคารสำนักงาน อาคารพักอาศัย
จึงเป็นรูปสัญญะที่ช่วยสื่อความหมายของประโยชน์ และส่วนพิพิธภัณฑ์ โจทย์ที่ท้าทายในการออกแบบคือ การ
ใช้สอยที่แตกต่างของพื้นที่หลังหน้าต่างโค้งครึ่ง เชื่อมอาคารใหม่เข้ากับอาคารเดิมจำนวน 3 อาคาร (รูปที่ 13)
วงกลมทางด้านหน้าได้เป็นอย่างดี กระบวนการออกแบบที่สถาปนิกใช้ในการสร้างความ
หมายอันซับซ้อนในงานชิ้นนี้คือ การมองพื้นที่ทั้งหมดราวกับ
รูปสัญญะ (signifier) ความหมายสัญญะ (signified) แหล่งขุดค้นทางประวัติศาสตร์ เพื่อที่จะ ‘รื้อ - สร้าง’ ประวัติ-
เส้นสีขาวบนผนังอาคาร → พืน้ ทีส่ ำหรับกิจกรรมสันทนาการรวม ศาสตร์ ท ี ่ ห ายไป หรื อ เคยดำรงอยู ่ ใ ห้ เ ปิ ด เผยร่ อ งรอยขึ ้ น

รูปที่ 13 ผังโครงการทั้งหมดแสดงถึงโครงสร้างที่เกิดขึ้นสอดแทรกอยู่ระหว่างอาคารเดิม 3 หลัง

Journal of Architectural/Planning Research and Studies Volume 3. 2005


144 Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University
หรือสู่สภาวะของการดำรงอยู่ในเชิงกายภาพ ทำให้สถาปัตย- บนที่ตั้งโครงการ ทำให้เส้นสายของร่องรอยต่าง ๆ
กรรมสามารถสร้างความหมายได้ไม่รู้จบ เหมือนกับการใช้ ในเชิงประวัติศาสตร์ ทั้งที่มีอยู่จริงและไม่มีอยู่
ปรั ช ญาดี ค อนสตรั ค ชั น ในการวิ เ คราะห์ แ ละวิ พ ากษ์ ง าน ในปัจจุบันกลายมาเป็นเส้นสาย หรือโครงร่างที่จะ
วรรณกรรมปีเตอร์ ไอเซนแมน ได้ใช้กระบวนการออกแบบ ก่อให้เกิดโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมใหม่ขึ้นมา
ที่เรียกว่า ‘การขุดค้นเชิงประดิษฐ์ (artificial excavation)’ ซึ่งปรากฏชัดในผังของอาคารด้วยวิธีการนี้ ทำให้
ทำให้ ต ั ว บททางสถาปั ต ยกรรมสามารถสร้ า งความหมายที ่ ตัวบททางสถาปัตยกรรมเกิดการเชื่อมโยงไปยัง
ซับซ้อน และโยงใยไปถึงตัวบทอื่น ๆ ภายนอกสถาปัตยกรรม ตัวบททางประวัติศาสตร์ และตัวบททางภูมิศาสตร์
อี ก ด้ ว ย แม้ ใ นท้ า ยสุ ด อาคารนี ้ ไ ด้ ถ ู ก ก่ อ สร้ า งเพี ย งแค่ ส ่ ว น เกิดเป็นสัมพันธบทขึ้น (รูปที่ 14)
อาคารพั ก อาศั ย เท่ า นั ้ น แต่ ร ่ อ งรอยของแนวความคิ ด ยั ง 2.2 การสร้ า งความหมายระหว่ า งรู ป สั ญ ญะและรู ป
ปรากฏอยู่ ทั้งจากการซ้อนทับและบิดเอียงของรูปทรงอาคาร สัญญะ ได้แก่ รูปสัญญะของโครงสร้างที่ซ้อนกัน
กระบวนการสร้างความหมายที่เกิดขึ้นในงานชิ้นนี้ ได้แก่ เป็นชั้น ๆ ลึกลงไปในพื้นที่ส่วนพิพิธภัณฑ์อัน
2.1 การสร้าง ‘ตัวบท’ ทางสถาปัตยกรรมและการสร้าง เกิดจากแผนภาพ หรือตัวบทที่แตกต่างกัน ชั้นล่าง
‘สัมพันธบท’ เชื่อมโยงกับตัวบทอื่น ๆ ได้แก่ การใช้ สุ ด เป็ น โครงสร้ า งตารางกริ ด เกิ ด จากแผนภาพ
กระบวนการที่เรียกว่า ‘การซ้อนทับกัน (superpo ของเมืองเบอร์ลิน ในสมัยคริสตศตวรรษที่ 18
sition)’ โดยไอเซนแมนได้ น ำเอาแผนภาพ ถัดขึ้นมาเป็นกำแพงอิฐที่สร้างจากแผนภาพของ
(diagram) หลาย ๆ แผนภาพ ซึ่งถือเป็นตัวบท ตารางกริ ด แบบโมเดิ ร ์ น ขนานกั บ แนวถนนและ
แบบหนึ่งประกอบด้วย แผนภาพของเมืองเบอร์ลิน อาคารเดิมทั้งสามอาคาร ซึ่งขอบบนสุดของกำแพง
ในสมั ย คริ ส ตศตวรรษที ่ 18 ซึ ่ ง แสดงร่ อ งรอย อิฐนี้จะมีความสูงเสมอกับระดับของเมืองเบอร์ลิน
ของกำแพงโบราณ แผนภาพของตารางกริดแบบ ในปัจจุบ ัน ส่วนชั้นบนสุดนั้นจะเป็นโครงสร้าง
โมเดิร์นของพื้นที่ตั้งโครงการ และแผนภาพทาง สีขาว ทำหน้าที่เป็นทางเดินเชื่อมอาคารทั้งหมด
ภูมิศาสตร์ของตารางกริดแบบเมอร์คาเตอร์ [16] ซึ่งเกิดจากแผนภาพทางภูมิศาสตร์ของตารางกริด
ทั้งสามแผนภาพถูกนำมาใช้ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน แบบเมอร์คาเตอร์ โดยจะวางเอียงเป็นมุมเฉียง
และเมื่อนำแผนภาพทั้งหมดมาวางซ้อนทับกันลง กั บ พื ้ น ที ่ เมื ่ อ มองจากผั ง อาคารทางเดิ น นี ้ ม ี

รูปที่ 14 แผนภาพแสดงองค์ประกอบและโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากแผนภาพที่แตกต่างกัน


ทำหน้าที่เป็นรูปสัญญะที่โยงถึงรูปสัญญะอื่น ๆ

The Signification and Significance in Architecture: From Structuralism to Poststructuralism


Assistant Professor Santirak Prasertsuk 145
รูปที่ 15 ทัศนียภาพเปรียบเทียบระหว่างซากโบราณของโรมันทางภาพซ้ายกับบริเวณโครงการส่วนพิพิธภัณฑ์ทางภาพขวา

ความสูง 3.3 เมตร เท่ากับความสูงของกำแพง รูปสัญญะที่น่าสนใจรูปที่สองคือ โครงสร้างสีขาว


เบอร์ลิน เดิมซึ่งได้ถูกทำลายไปแล้ว เมื่อเดินอยู่ ชั้นบนสุด ซึ่งโยงใยไปถึงรูปสัญญะของกำแพง
บนทางเดินนี้จะมองลงไปเห็นโครงสร้างทั้งหมด ที่กั้นแบ่งพื้นที่เหมือนกับกำแพงอิฐ เพียงแต่ว่า
ซ้อนทับกันเป็นชั้น ๆ ราวกับเห็นซากของอดีตกาล ประโยชน์ใช้สอยคือ การเป็นทางเดินสัญจรเชื่อม
ที่เปิดเผยถึงโครงสร้างทางประวัติศาสตร์ของเมือง ส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ทำให้โครงสร้างสีขาวอยู่
เบอร์ลิน (รูปที่ 15) ในสภาวะที่ทั้งแบ่งแยก/เชื่อมต่อ ในขณะเดียวกัน
และเป็นรูปสัญญะที่โยงไปถึงกำแพงเบอร์ลินที่
จะเห็นได้ว่า กำแพงอิฐในส่วนพิพิธภัณฑ์เป็นรูป เคยดำรงอยู่เนื่องจากมีความสูงที่ 3.3 เมตรเท่ากัน
สัญญะ ซึง่ สร้างความหมายใหม่ เนือ่ งจากรูปสัญญะของกำแพง
โดยปกติจะสื่อความหมายระดับที่หนึ่งถึงโครงสร้างที่แบ่งพื้นที่ รูปสัญญะ (signifier) รูปสัญญะ (signifier)
ออกจากกันเป็นส่วน ๆ ทั้งยังสื่อความหมายในระดับที่สอง โครงสร้างสีขาว → โครงสร้างที่แบ่งพื้นที่ออกจากกัน
ถึงบริบทในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ ตารางกริดแบบโมเดิร์นของพื้นที่ เป็นส่วน ๆ (กำแพง)
ตั้งโครงการ และความหมายในระดับที่สามถึงระดับของเมือง → โครงสร้ า งที ่ เ ชื ่ อ มต่ อ ส่ ว นต่ า ง ๆ
เบอร์ลินในเชิงสัญฐานของเมืองอีกด้วย นอกจากนี้ ยังเปิด เข้าด้วยกัน (ทางเดิน)
โอกาสให้ผ ู้อ่านสามารถหาความหมายได้ไม่ร ู้จบ เนื่องจาก → กำแพงเบอร์ลิน
การสร้ า งความหมายไม่ได้เป็นการนำเอากำแพงในรูปลักษณ์ → ........................
โบราณมาใช้ ซึ่งจะทำให้การสื่อความหมายตายตัว
รูปสัญญะที่น่าสนใจรูปสุดท้าย ได้แก่ แนวตาราง
รูปสัญญะ (signifier) รูปสัญญะ (signifier) กริดสีแดงบนผนังอาคารด้านนอกส่วนพักอาศัย
กำแพงอิฐ → โครงสร้างที่แบ่งพื้นที่ออกจากกัน ซึ ่ ง เกิ ด จากการฉายแนวตารางกริ ด แบบเมอร์
เป็นส่วน ๆ คาเตอร์จากพื้นต่อเนื่องขึ้นสู่ผนัง เส้นตารางกริด
→ ตารางกริ ด โมเดิ ร ์ น ของพื ้ น ที ่ ต ั ้ ง สีแดงนี้เป็นรูปสัญญะที่สร้างความหมาย ไม่เพียง
โครงการ แต่หมายถึง ตารางกริดแบบเมอร์คาเตอร์ ซึ่งไม่มี
→ ระดับของเมืองเบอร์ลิน ตัวตนอยู่จริงในทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังโยงไป
→ ………………………… ถึ ง รู ป สั ญ ญะของกำแพงเบอร์ ล ิ น ซึ ่ ง เคยมี อ ยู ่

Journal of Architectural/Planning Research and Studies Volume 3. 2005


146 Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University
รูปที่ 16 อาคารพักอาศัยไอบีเอ เมื่อก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย

อีกด้วย ทำให้เส้นตารางกริดสีแดงอยู่ในสภาวะ ระดับถนน ต้องอาศัยการเดินบนทางเดินใหม่ที่


ระหว่างการดำรงอยู่ (presence) / การไม่ดำรงอยู่ สร้ า งขึ ้ น ร่ า งกายมนุ ษ ย์ จ ึ ง ถู ก ตั ด ขาดออกจาก
(absence) ในทางกายภาพ จะเห็ น ได้ ว ่ า เส้ น สถาปัตยกรรมในระดับหนึ่ง
ตารางกริ ด สี แ ดงนี ้ ท ำหน้ า ที ่ ข องรู ป สั ญ ญะที ่ 2.4 การสร้าง ‘ความทรงจำ (memory)’ ของสถานที่
ซั บ ซ้ อนกว่ า เส้ น สี ข าวบนผนั ง อาคารกิ ล ด์ เฮาส์ ขึ ้ น ใหม่ โดยอาศั ย ประวั ต ิ ศ าสตร์ ข องสถานที ่
(รูปที่ 16) เป็นเครื่องมือ แต่ความทรงจำที่เกิดขึ้นใหม่นั้น
ไม่ใช่การจำลองรูปแบบอดีตให้เหมือนเดิม หรือ
รูปสัญญะ (signifier) รูปสัญญะ (signifier) ‘การหวนถวิลหาอดีต (nostalgia)’ ด้วยการนำเอา
ตารางกริดสีแดง → ตารางกริดแบบเมอร์คาเตอร์ องค์ประกอบจากประวัติศาสตร์มาใช้ แต่เป็นการ
(ไม่ดำรงอยู)่ สร้างความทรงจำใหม่ที่ปราศจากอดีตอันชัดเจน
→ กำแพงเบอร์ลนิ (ดำรงอยู)่ และดำรงอยู ่ ใ นสภาพที ่ ไ ร้ ก าลเวลา (Atem-
→ ………………….. poral Now) ทำให้อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
สอดสานสัมพันธ์กัน และรอการค้นหาความหมาย
2.3 การปฏิเสธมนุษย์ในฐานะที่เป็นองค์ประธานใน อย่างไม่จบสิ้น
การคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสถาปัตยกรรมตามแบบแผน
เดิมจะขึ้นอยู่กับการอ้างอิงถึงมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญ จะเห็นได้ว่า ระบบของการสร้างความหมายในอาคาร
เช่น ขนาดสัดส่วนของประตู หน้าต่าง หรือความสูง ไอบีเอนี้เป็นการสร้างความหมายที่มิได้อยู่ภายใต้ความหมาย
อาคารจะอ้างอิงกับสัดส่วนของมนุษย์ แต่ในผลงาน แบบตายตั ว เหมื อ นกั บ อาคารกิ ล ด์ เฮาส์ แต่ เ ป็ น การสร้ า ง
ชิ้นนี้ ปีเตอร์ ไอเซนแมน ได้สร้างสภาวะใหม่ที่ ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งรู ป สั ญ ญะด้ ว ยกั น ตามสกุ ล ความคิ ด
สถาปัตยกรรมหลุดพ้นจากแนวความคิดที่มนุษย์ แบบหลังโครงสร้างนิยม ทำให้ความหมายของรูปสัญญะไม่
เป็ น ศู น ย์ ก ลางไปสู ่ ส ถาปั ต ยกรรมในฐานะของ คงที่ เลื่อนไหล และเผยให้เห็นถึงโครงสร้างความสัมพันธ์ที่
ตัวบทที่อ้างอิงกับตัวเองหรือสิ่งอื่น ๆ และเขา แตกต่างไปจากโครงสร้างนิยม โครงสร้างนี้อาจอยู่ในสภาวะที่
ยังได้ทำการเอียงระนาบของพื้นที่โครงการทั้งหมด คลุมเครือ ไม่ชัดเจนระหว่างคู่ตรงข้ามของสิ่งสองสิ่ง ซึ่งเรียก
เป็นมุมเอียง 3.3 องศากับระนาบของพื้นเมือง สภาวะที่เกิดขึ้นนี้ว่า ‘สภาวะของการอยู่ระหว่าง (betweeness)’
ทำให้ พ ื ้ น ที ่ ท ั ้ ง โครงการไม่ ส ามารถเข้ า ถึ ง ได้ จ าก เปิดโอกาสให้ผู้อ่านสามารถค้นหาความหมายได้ไม่รู้จบ

The Signification and Significance in Architecture: From Structuralism to Poststructuralism


Assistant Professor Santirak Prasertsuk 147
ตารางเปรียบเทียบกระบวนการในการสือ่ และการสร้างความหมายของอาคารกรณีศกึ ษา

อาคารกิลด์ เฮาส์ อาคารพักอาศัยไอบีเอ


การสื ่ อ ความหมายเป็ น แบบตายตั ว ระหว่ า งรู ป สั ญ ญะและ การสื่อความหมายไม่ได้เป็นแบบตายตัว แต่เป็นแบบเลื่อนลอย
ความหมายสัญญะ ไม่เปิดโอกาสให้ผู้อ่านค้นหาความหมาย ไม่ ค งที ่ ร ะหว่ า งรู ป สั ญ ญะด้ ว ยกั น และเปิ ด โอกาสให้ ผ ู ้ อ ่ า น
ได้มากมาย สามารถค้นหาความหมายได้ไม่รู้จบจากตัวบทที่เกี่ยวข้อง
รู ป สั ญ ญะยั ง สื ่ อ ความหมายถึ ง ความหมายสั ญ ญะในเชิ ง รูปสัญญะสื่อความหมายไม่ชัดเจนและกำกวมถึงความหมาย
ประโยชน์ ใ ช้ ส อยอยู ่ เช่ น รู ป สั ญ ญะของเสายั ง สื ่ อ ถึ ง โครง เชิงสัญญะในเชิงประโยชน์ใช้สอย ‘เกิดเป็นสัญญะของความ
สร้างที่รับน้ำหนักของอาคารในแนวดิ่ง เคลื อ บแคลง (sign of doubt)’ และแสดงทวิ ล ั ก ษณ์
ปฏิภาคสัมพันธ์ของสิ่งสองสิ่ง
การนำประวัติศาสตร์มาอ้างอิงในความหมายเดิม เพื่อสร้าง การนำประวัติศาสตร์มาเป็นเครื่องมือในการสร้างความทรงจำ
ความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมในอดีตกับปัจจุบัน ขึ้นใหม่ โดยใช้ลบประวัติศาสตร์เดิมแล้วเขียนขึ้นมาใหม่ ซึ่ง
เรียกว่า ‘พาลิมพ์เซสต์ (palimpsest)’
กระบวนการคิดอยู่บนอัตวิสัย (subjective) ของสถาปนิก กระบวนการคิดอยู่ระหว่างคู่ตรงข้ามของอัตวิสัย (subjective)
ในการเลือกองค์ประกอบจากสถาปัตยกรรมในอดีต และภววิสัย (objective) ของสถาปนิกโดยใช้ประบวนการ
ออกแบบ ซึ่งอิงกับปรัชญาดีคอนสตรัคชัน

บทส่งท้าย (Epilogue)

การสื ่ อ และการสร้ า งความหมายในสถาปั ต ยกรรม นับตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา สถาปัตย-


โพสต์โมเดิร์นมีความซับซ้อนทั้งในกลวิธีและสารที่ต้องการ กรรมตะวันตกเริ่มลดความสนใจในการสร้างความสัมพันธ์
สื่อ ซึ่งอาศัยพื้นฐานความรู้ทางภาษาศาสตร์ โดยเฉพาะทาง กับภาษาศาสตร์และหันมาให้ความสนใจในวิธคี ดิ และกระบวนการ
ด้านสัญวิทยาหรือสัญศาสตร์ ประเด็นสำคัญก็คือ การสร้าง แบบวิทยาศาสตร์แนวใหม่ (new science) [17] แทนองค์-
ความหมายในระดับที่ซับซ้อนสูง อย่างเช่น สถาปัตยกรรม ความรู้ทางวิทยาศาสตร์แนวใหม่ได้ทำให้สถาปัตยกรรม ก้าว
ดีคอนสตรัคชันนั้น หากผู้พบเห็นไม่สามารถรับรู้หรืออ่านสาร เข้าสู่ความซับซ้อนในหนทางที่แตกต่างไปจากเดิม อย่างไร
จากตัวสถาปัตยกรรมแล้ว จะถือว่าสถาปัตยกรรมนั้นล้มเหลว ก็ ต าม การสื ่ อ และการสร้ า งความหมายในสถาปั ต ยกรรม
ในการสื่อสารเช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมโมเดิร์นตอนปลาย ยั ง เป็ น สิ ่ ง จำเป็ น ที ่ ส ถาปั ต ยกรรมพึ ง มี หากคำกล่ า วของ
หรือไม่ และหากมุ่งความสำคัญในการออกแบบสถาปัตยกรรม วิทรูเวียสที่ว่า สถาปัตยกรรมนั้นต้องประกอบด้วยกฎเกณฑ์
ไปที่การสร้างความหมาย และกระบวนการออกแบบที่ซับซ้อน 3 ประการ คือ ความมั่นคง (durability) ความสะดวกสบาย
เป็นหลัก จนทำให้ความสำคัญของส่วนอื่นลดน้อยลงไป เช่น (convenience) และความงาม (beauty) นั้น คุณค่าของ
ประโยชน์ ใ ช้ ส อยจะถื อ ว่ า เป็ น สถาปั ต ยกรรมที ่ ล ้ ม เหลวใน ความหมายทีส่ ถาปัตยกรรมพึงต้องมีกอ็ าจนับได้วา่ เป็นความงาม
ภารกิจหลักของสถาปัตยกรรมหรือไม่ คำถามเหล่านี้อาจถือ ในรูปแบบหนึ่งก็ไม่ผิดแต่อย่างใด
เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่นำพาให้สถาปัตยกรรมที่แลดูซับซ้อน
และเข้าใจยากไปสู่จุดสิ้นสุด ดังเช่นที่สถาปัตยกรรมดีคอน-
สตรัคชันได้ประสบมา

Journal of Architectural/Planning Research and Studies Volume 3. 2005


148 Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University
รายการอ้างอิง (References)

[1] การเรียกว่า ‘สัญวิทยา (Semiology)’ เป็นการเรียกตามเฟอร์ดินองด์ เดอ โซซูร์ ส่วนการเรียก ‘สัญศาสตร์ (Semiotics) เป็น
การเรียกตามนักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกันอีกท่าน คือ ชาร์ล แซนเดอร์ เพอร์ช (Charles Sanders Peirce).
[2] ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. สัญวิทยา, โครงสร้างนิยม, หลังโครงสร้างนิยมกับการศึกษารัฐศาสตร์. กรุงเทพ ฯ: สำนักพิมพ์
วิภาษา, 2545, 3-17.
[3] ดูอ้างอิง 2, 30-36.
[4] ดูอ้างอิง 2, 43-57.
[5] อ่านการศึกษานิทานปรัมปราแบบโครงสร้างนิยมในอ้างอิง 2, 70-88.
[6] จันทนี เจริญศรี. (2544). โพสต์โมเดิร์น & สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: บริษัท เคล็ดไทย จำกัด.
[7] Barthes, Roland. (2544). มายาคติ สรรนิพนธ์จาก Mythologies. แปลโดย วรรณพิมล อังคศิรสิ รรพ. กรุงเทพ ฯ: สำนักพิมพ์คบไฟ.
[8] ในสังคมปัจจุบัน ค่านิยมในการใช้โทรศัพท์มือถือ การใช้ครีมสำหรับทำให้ผิวขาว การนิยมดื่มชาเขียว เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็น
ตัวอย่างของมายาคติที่เกิดขึ้นในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี เพราะแฝงด้วยความหมายในระดับที่ลึกเกินกว่าแค่ความหมาย
ในเชิงประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เช่น ทำให้ดูทันสมัย แสดงถึงลัทธิการล่าอาณานิคมที่คนผิวขาวเป็นใหญ่ หรือ
การใส่ใจในการรักษาสุขภาพตนเอง ฯลฯ.
[9] Broadbent, Geoffrey. (1996). “A Plain Man’s Guide to the Theory of Signs in Architecture.” Theorizing a
New Agenda for Architecture: an Anthology of Architectural Theory 1965 - 1995. New Jersey: Princeton
Architectural Press, 124-140.
[10] วาทกรรม (discourse) หมายถึง ชุดของหลักการซึ่งเป็นรากฐาน และก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่เรามองเห็น
คิดและพูด ผู้บัญญัติศัพท์คำนี้คือ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault).
[11] Kwok, Kai H. “Structuralism/Poststructuralism.” แปลและเรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตั้งนโม จาก http://www.
midnightuniv.org/
[12] Faulconer, James E. “Deconstruction.” แปลและเรียบเรียงโดย สมเกียรติ ตัง้ นโม จาก http://www.midnightuniv.org/
[13] Lynch, Kevin. (1960). The Image of the City. Cambridge: The MIT Press.
[14] Nessbit, Kate. (1996). Theorizing a New Agenda for Architecture: an Anthology of Architectural Theory
1965 - 1995. New Jersey: Princeton Architectural Press, 34-35.
[15] Stern, Robert A.M. (1996). “New Directions in Modern American Architecture.” Theorizing a New Agenda
for Architecture: an Anthology of Architectural Theory 1965 - 1995. New Jersey: Princeton Architectural
Press, 100-108.
[16] ตารางกริดแบบเมอร์คาเตอร์ (Mercator Grid) เป็นระบบการอ้างอิงพิกัดทางภูมิศาสตร์รูปแบบหนึ่ง โดยใช้ตารางซ้อนทับ
ลงบนพื้นผิวโลก ถูกคิดค้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1569.
[17] วิทยาศาสตร์แนวใหม่ (new science) เป็นองค์ความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 20 ได้
เปลี่ยนแปลงระบบความคิดทางวิทยาศาสตร์แบบกลไก ซึ่งตกอยู่ภายใต้ทฤษฎีของไอแซค นิวตัน และเรเน่ เดส์การ์ตส์
มากว่าสองร้อยปี วิทยาศาสตร์แนวใหม่มองปรากฏการณ์ทุกสิ่ง ทั้งในสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในเชิงพลวัต (dynamic)
มีความเปลี่ยนแปลง วิวัฒนาการ ความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ๆ และคาดการณ์ไม่ได้อยู่ตลอดเวลา.

The Signification and Significance in Architecture: From Structuralism to Poststructuralism


Assistant Professor Santirak Prasertsuk 149
ที่มาของรูปประกอบ (Figure Credits)

รูปที่ 1, 3 Gelernter, Mark. (1995). Sources of Architectural Form: A Critical History of Western
Design Theory. Manchester: Manchester University Press, 59, 258.
รูปที่ 2, 8, 9, 11, 12 Gossel, Peter and Leuthauser. (1991). Architecture in the Twentieth Century. Cologne:
Taschen, 230, 273, 386, 273, 272.
รูปที่ 4 - 6 Lynch, Kevin. (1960). The Image of the City. Cambridge: The MIT Press, 47, 70,147.
รูปที่ 7 Venturi, Robert. (1977). Learning From Las Vegas. Cambridge: The MIT Press, 62.
รูปที่ 10, 16 Eisenman, Peter. (1995). Eisenman Architects: Selected and Currents Works. Victoria:
The Images Publishing Group, 112, 67.
รูปที่ 13 - 15 Eisenman, Peter. (1994). Cities of Artificial Excavation: The Work of Peter Eisenman,
1978 - 1988. New York: Rizzoli, 77, 79, 26.

Journal of Architectural/Planning Research and Studies Volume 3. 2005


150 Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University

Vous aimerez peut-être aussi